Return to Video

300 Years of FOSSIL FUELS in 300 Seconds

  • 0:01 - 0:04
    สถาบันยุคหลังคาร์บอน เสนอ
  • 0:05 - 0:08
    สุดยอดแห่งการเดินทางที่ตื่นเต้นดุจขึ้นรถไฟเหาะ
  • 0:08 - 0:11
    ประวัติศาสตร์โดยย่อของเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์
  • 0:12 - 0:14
    สรรพสิ่งเริ่มมาจากบิ๊กแบง
  • 0:14 - 0:16
    เดี๋ยว เราไม่ต้องย้อนไปไกลขนาดนั้น
  • 0:16 - 0:21
    โลกก่อตัวเมื่อราว 4.5 พันล้านปีที่แล้ว
  • 0:21 - 0:23
    ยังไกลไปอยู่ดี งั้นลองนี่
  • 0:23 - 0:26
    มันอยู่ในช่วงยุคกลาง
    คนในอังกฤษ
  • 0:26 - 0:28
    เริ่มขาดแคลนไม้ฟืน
    และได้เริ่มเผาถ่านหินกัน
  • 0:28 - 0:30
    แต่แล้วพวกเขาก็ใช้ถ่านหิน
    บนผิวดินจนหมด
  • 0:30 - 0:33
    ชาวเหมืองขุดลึกลงไป
    เหมืองถ่านหินก็มีน้ำลงไปท่วม
  • 0:33 - 0:36
    แซมมวล นิวคมเมนประดิษฐ์เครื่องจักร
    เดินด้วยพลังไอน้ำจากการเผาถ่านหิน
  • 0:36 - 0:39
    เพื่อสูบเอาน้ำออก
    ให้ชาวเหมืองขุดต่อไปได้
  • 0:39 - 0:41
    เจมส์ วัตต์นำมาต่อยอด
    ให้เครื่องจักรนี้ใช้งานได้จริง
  • 0:41 - 0:45
    คราวนี้เราก็มีส่วนผสมครบ
    ที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมกันล่ะ
  • 0:45 - 0:48
    เชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์
    และวิธีที่จะนำมันมาใช้
  • 0:48 - 0:49
    จากนั้นทุกอย่างก็ประทุขึ้นราวนรกแตก
  • 0:49 - 0:51
    ชาวเหมืองลำเลียงถ่านหิน
    ได้ไม่คล่องตัวนัก
  • 0:51 - 0:53
    รางรถทำให้มันง่ายขึ้น
  • 0:53 - 0:56
    รางรถและเครื่องจักรไอน้ำ
    รวมกันเป็นรถไฟ
  • 0:56 - 0:58
    ไมเคิล ฟาราเดย์สร้าง
    มอเตอร์ไฟฟ้าตัวแรก
  • 0:58 - 1:01
    นิโคลัส เทสลาประดิษฐ์
    ไฟฟ้ากระแสสลับ
  • 1:01 - 1:05
    ไม่นานนักบริษัทสาธารณูปโภคก็เริ่ม
    เผาถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้า
  • 1:05 - 1:09
    ช่วงนั้นเองเอดวิน เดรคเริ่มเจาะหินน้ำมัน
    บ่อแรกสำเร็จในรัฐเพนซิลเวเนีย
  • 1:09 - 1:13
    และคาร์ล เดมเลอร์ก็ได้สร้าง
    รถยนต์ที่วิ่งด้วยน้ำมันขึ้น
  • 1:13 - 1:16
    ถ่านหิน น้ำมันดิน และน้ำมัน
    กลายเป็นสารเคมีทางอุตสาหกรรม
  • 1:16 - 1:20
    และวัตถุดิบในการผลิตยาที่ช่วยยืดอายุคน
    ประชากรยิ่งเร่งการเติบโตเร็วขึ้น
  • 1:20 - 1:23
    พี่น้องตระกูลไรท์ริเริ่ม
    การบินด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง
  • 1:23 - 1:26
    ฟริทซ์ ฮาเบอร์และคาร์ล บ็อชผลิตปุ๋ย
    จากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ได้
  • 1:26 - 1:30
    ปุ๋ยและรถแทรคเตอร์พลังน้ำมัน
    ขยายการผลิตอาหารอย่างรวดเร็ว
  • 1:30 - 1:31
    เพื่อให้เลี้ยงดูประชากรได้มากขึ้น
  • 1:31 - 1:34
    สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นความขัดแย้งครั้งแรก
    ที่ดำเนินไปด้วยเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์
  • 1:34 - 1:38
    แล้วตามมาด้วยสงครามโลกครั้งที่สอง
    ที่เราได้จรวดนำวิถีและระเบิดนิวเคลียร์มา
  • 1:38 - 1:42
    ในระหว่างสองสงครามนั้นเป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ
    ครั้งใหญ่ที่เกิดจากการผลิตเกินขนาด
  • 1:42 - 1:45
    สายการผลิตที่เดินด้วยพลังเครื่องจักร
    ผลิตสินค้าออกมาเร็วเกินกว่าที่มนุษย์ต้องการ
  • 1:45 - 1:50
    ผู้บริหารสายโฆษณาสร้างค่านิยมที่เรียกว่า
    บริโภคนิยมขึ้นเพื่อรองรับการผลิตที่เกินขนาด
  • 1:50 - 1:53
    ในช่วงปี 1940-1949 นักโฆษณาใช้โทรทัศน์
  • 1:53 - 1:55
    เป็นเครื่องมือจูงใจผู้บริโภครุ่นใหม่
  • 1:55 - 1:58
    ในช่วงปี 1960-1969 มีวิกฤติน้ำมันเกิดขึ้น
  • 1:58 - 2:01
    ทุกคนตกตะลึงเมื่อตระหนักว่าตนเอง
    ต้องพึ่งพาน้ำมันมากมายขนาดไหน
  • 2:01 - 2:05
    ด้วยวิกฤติพลังงานนี่เองที่ทำให้การรณรงค์
    เรื่องสิ่งแวดล้อมถือกำเนิดขึ้น
  • 2:05 - 2:09
    แต่เมื่อราคาน้ำมันตกลง
    ทุกคนก็หลงลืมความทุกข์ยากในช่วงขาดแคลนพลังงานไป
  • 2:09 - 2:12
    เกิดการดวลกันครั้งสำคัญระหว่างเศรษฐกิจการตลาด
    กับเศรษฐกิจแบบวางแผน
  • 2:12 - 2:15
    เศรษฐกิจการตลาดชนะ
    ลาก่อนจักรวรรดิโซเวียตอันชั่วร้าย
  • 2:15 - 2:18
    นักการเมืองรวมหัวกันตัดสินกันว่า
    เศรษฐกิจการตลาดจะสามารถแก้ไขได้ทุกปัญหา
  • 2:18 - 2:20
    และแล้วคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็มา
  • 2:20 - 2:22
    โลกาภิวัตน์เข้ามายึดครองเมื่อเศรษฐกิจการตลาดเล็งเห็นว่า
  • 2:22 - 2:24
    ค่าแรงมันถูกกว่ามากในเมืองจีน
  • 2:24 - 2:26
    ในบัดดลทุกคนก็มีโทรศัพท์มือถือ
  • 2:26 - 2:28
    แต่แล้วการผลิตน้ำมันในโลกเกิดชะงักงัน
  • 2:28 - 2:32
    บัดนี้จีนกำลังเผาถ่านหินครึ่งหนึ่งที่ผลิตได้ในโลก
    เพื่อผลิตสินค้าส่งออก
  • 2:32 - 2:36
    แต่ในอนาคตจีนจะไปเอาถ่านหินและน้ำมันมาจากไหน
    เพื่อหล่อเลี้ยงการเติบโตทางเศรษฐกิจ
  • 2:36 - 2:40
    ทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยปัญหาสิ่งแวดล้อม
    การเพิ่มขึ้นของปริมาณ CO2
    นำไปสู่คลื่นความร้อนที่ทุบสถิติเดิม
  • 2:40 - 2:43
    น้ำท่วม ภัยแล้ง ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นในมหาสมุทร
  • 2:43 - 2:47
    หน้าดินเสื่อมสภาพไป 25 พันล้านตันต่อปี
    เนื่องมาจากอุตสาหกรรมการเกษตร
  • 2:47 - 2:52
    ป่าดึกดำบรรพ์ทยอยหายไป
    สายพันธุ์สิ่งมีชีวิตสูญไปในอัตราที่เร็วกว่าปกติพันเท่า
  • 2:52 - 2:54
    แหล่งน้ำจืดหาได้ยากขึ้น หรือถูกทำให้เป็นพิษ
  • 2:54 - 2:58
    บริษัทน้ำมันย้ายไปขุดเจาะห่างออกไปเป็นไมล์ๆ ในทะเล
    เพราะว่าแหล่งน้ำมันที่ขุดเจาะง่ายได้หมดไปแล้ว
  • 2:58 - 3:03
    แต่แท่นขุดเจาะน้ำลึกแห่งหนึ่งได้ระเบิด
    และทำลายความงามอ่าวเมกซิโกไป
  • 3:03 - 3:06
    อุตสาหกรรมการผลิตย้ายฐานไปทำลายสิ่งแวดล้อม
    ในประเทศที่มีแรงงานถูก
  • 3:06 - 3:11
    ในขณะที่สหรัฐกลายเป็นแหล่งพนัน
    ภาคการเงินมีขนาดคิดเป็น 40% ของเศรษฐกิจ
  • 3:11 - 3:13
    แต่วอลสตรีทได้ใช้อำนาจทางการเงินเกินตัว
  • 3:13 - 3:16
    ธนาคารล้ม การว่างงานทะยานขึ้น เครดิตเหือดหาย
  • 3:16 - 3:19
    เศรษฐกิจอยู่ในภาวะจวนเจียนจะล่มสลาย
  • 3:19 - 3:21
    โอเค ปัจจุบัน
  • 3:21 - 3:23
    มันน่าประหลาดใจจริงๆ
    ที่เรามาได้ไกลขนาดนี้ภายในสองร้อยปี
  • 3:23 - 3:25
    เพียงแค่สามชั่วอายุคนเท่านั้น
  • 3:25 - 3:27
    จากการเริ่มต้นยุคอุตสาหกรรมมาถึงปัจจุบัน
  • 3:27 - 3:29
    แต่เรากำลังมุ่งไปไหนกัน?
  • 3:29 - 3:34
    เราไม่สามารถที่จะเพิ่มประชากรมนุษย์เป็นสองเท่า
    เราไม่สามารถที่จะทิ้งเศษคาร์บอนไปในบรรยากาศ
    ต่อไปเรื่อยๆ ได้
  • 3:34 - 3:38
    เราไม่สามารถที่จะเดินหน้าทำลายหน้าดิน
    เพิ่มจำนวนประชากร และขยายการบริโภค
  • 3:38 - 3:42
    หรือวางรากฐานเศรษฐกิจของเราอยู่บนการผลาญเชื้อเพลิง
    จากซากดึกดำบรรพ์อย่างไม่หยุดยั้งได้อีกต่อไป
  • 3:42 - 3:46
    เราไม่สามารถที่จะพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้น
    เพียงเพื่อแก้วิกฤติหนี้สิน
  • 3:46 - 3:49
    ที่ผ่านมามันเป็นการเดินทางที่น่าตื่นเต้นยินดียิ่ง
    แต่ทุกอย่างต้องมีขอบเขต
  • 3:49 - 3:53
    เปล่า มันยังไม่ใช่จุดจบของโลกหรอก
    แต่มันมีสี่อย่างที่เราต้องรีบทำ
  • 3:53 - 3:56
    เรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่โดยไม่มีเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์
  • 3:56 - 3:59
    ปรับตัวเข้ากับจุดจบของการเติบโตทางเศรษฐกิจ
    อย่างที่เราคุ้นเคยกันมา
  • 3:59 - 4:04
    เลี้ยงมนุษย์เจ็ดพันล้านคนให้รอด
    และควบคุมประชากรโลก
    ให้อยู่ในระดับที่อยู่กันได้อย่างยั่งยืน
  • 4:04 - 4:07
    และจัดการกับมรดกแห่งความย่อยยับ
    ทางสิ่งแวดล้อมของเราให้ได้
  • 4:07 - 4:12
    โดยย่อ เราต้องอยู่รอดให้ได้ภายในงบประมาณ
    ทางทรัพยากรหมุนเวียนที่ธรรมชาติมีให้
  • 4:12 - 4:14
    ในอัตราที่เติมเต็มได้ทันโดยธรรมชาติ
  • 4:14 - 4:16
    เราจะทำกันได้มั้ย?
  • 4:16 - 4:18
    เราไม่มีทางเลือก!
  • 4:18 - 4:20
    แหล่งพลังงานทางเลือกเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง
  • 4:20 - 4:23
    แต่ไม่มีอะไรที่จะสามารถจะมาแทนเชื้อเพลิง
    จากซากดึกดำบรรพ์ได้ในเวลาที่เรามีเหลืออยู่
  • 4:23 - 4:27
    นอกจากนี้เรายังได้ออกแบบและสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
    ในการขนส่ง การผลิตและจ่ายไฟฟ้า
  • 4:27 - 4:30
    ตลอดจนเกษตรกรรมให้เหมาะกับ
    น้ำมัน ถ่านหิน และ แก๊ส
  • 4:30 - 4:34
    การเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานชนิดอื่น
    จะบีบให้เราต้องออกแบบเมือง
  • 4:34 - 4:37
    กระบวนการผลิต ระบบสาธารณสุข
    และอื่นๆ ขึ้นใหม่เลยทีเดียว
  • 4:37 - 4:40
    นอกจากนี้เรายังต้องหันมาทบทวนวัฒนธรรม
    ค่านิยมต่างๆ กันใหม่ด้วย
  • 4:40 - 4:44
    ไม่มีปัญหาระดับโลกใดๆ เลย
    ที่เราสามารถจะแยกแก้ไขแบบเดี่ยวๆ ได้
  • 4:44 - 4:46
    และบางปัญหาอาจไม่มีทางแก้ไขได้อย่างเด็ดขาดด้วยซ้ำ
  • 4:46 - 4:49
    เราต้องเตรียมตัวเตรียมใจว่าจะต้องทำอะไรนอกกรอบเดิมๆ
  • 4:49 - 4:51
    เป้าหมายที่ดีที่สุดของเราคือการมีความยืดหยุ่น
  • 4:51 - 4:55
    ความสามารถที่จะผ่อนแรงกระแทกที่มาปะทะ
    และดำเนินชีวิตต่อไป
  • 4:55 - 5:00
    ถึงเราเลือกไม่ทำอะไรเลย
    เราก็ยังคงต้องผ่านไปสู่ยุคหลังคาร์บอนอยู่ดี
    แต่จะเป็นการอยู่อย่างไร้อนาคต
  • 5:00 - 5:02
    แต่ถ้าเราเลือกที่จะวางแผนเพื่อการเปลี่ยนผ่าน
  • 5:02 - 5:07
    เราจะสามารถมีโลกที่รองรับชุมชนอันเข้มแข็ง
    ที่มีสุขภาพดี และมีความคิดสร้างสรร
  • 5:07 - 5:10
    พร้อมทั้งระบบนิเวศสำหรับสิ่งมีชีวิตอีกนับล้านๆ สายพันธุ์ได้
  • 5:10 - 5:14
    ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง
    เราหนีไม่พ้นที่จะต้องเดินทางไปกับมันชั่วชีวิต
  • 5:14 - 5:20
    ทำความเข้าใจกับปัญหาและร่วมมือกันแก้ไข
    เราทุกคนลงเรือลำเดียวกันแล้ว
  • 5:26 - 5:31
    บรรยายโดย: ริชชาร์ด ไฮน์เบอร์ก
  • 5:31 - 5:38
    ภาพประกอบโดย: MONSTRO
Title:
300 Years of FOSSIL FUELS in 300 Seconds
Video Language:
English
Duration:
05:39

Thai subtitles

Revisions