สถาบันยุคหลังคาร์บอน เสนอ สุดยอดแห่งการเดินทางที่ตื่นเต้นดุจขึ้นรถไฟเหาะ ประวัติศาสตร์โดยย่อของเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์ สรรพสิ่งเริ่มมาจากบิ๊กแบง เดี๋ยว เราไม่ต้องย้อนไปไกลขนาดนั้น โลกก่อตัวเมื่อราว 4.5 พันล้านปีที่แล้ว ยังไกลไปอยู่ดี งั้นลองนี่ มันอยู่ในช่วงยุคกลาง คนในอังกฤษ เริ่มขาดแคลนไม้ฟืน และได้เริ่มเผาถ่านหินกัน แต่แล้วพวกเขาก็ใช้ถ่านหิน บนผิวดินจนหมด ชาวเหมืองขุดลึกลงไป เหมืองถ่านหินก็มีน้ำลงไปท่วม แซมมวล นิวคมเมนประดิษฐ์เครื่องจักร เดินด้วยพลังไอน้ำจากการเผาถ่านหิน เพื่อสูบเอาน้ำออก ให้ชาวเหมืองขุดต่อไปได้ เจมส์ วัตต์นำมาต่อยอด ให้เครื่องจักรนี้ใช้งานได้จริง คราวนี้เราก็มีส่วนผสมครบ ที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมกันล่ะ เชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์ และวิธีที่จะนำมันมาใช้ จากนั้นทุกอย่างก็ประทุขึ้นราวนรกแตก ชาวเหมืองลำเลียงถ่านหิน ได้ไม่คล่องตัวนัก รางรถทำให้มันง่ายขึ้น รางรถและเครื่องจักรไอน้ำ รวมกันเป็นรถไฟ ไมเคิล ฟาราเดย์สร้าง มอเตอร์ไฟฟ้าตัวแรก นิโคลัส เทสลาประดิษฐ์ ไฟฟ้ากระแสสลับ ไม่นานนักบริษัทสาธารณูปโภคก็เริ่ม เผาถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้า ช่วงนั้นเองเอดวิน เดรคเริ่มเจาะหินน้ำมัน บ่อแรกสำเร็จในรัฐเพนซิลเวเนีย และคาร์ล เดมเลอร์ก็ได้สร้าง รถยนต์ที่วิ่งด้วยน้ำมันขึ้น ถ่านหิน น้ำมันดิน และน้ำมัน กลายเป็นสารเคมีทางอุตสาหกรรม และวัตถุดิบในการผลิตยาที่ช่วยยืดอายุคน ประชากรยิ่งเร่งการเติบโตเร็วขึ้น พี่น้องตระกูลไรท์ริเริ่ม การบินด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง ฟริทซ์ ฮาเบอร์และคาร์ล บ็อชผลิตปุ๋ย จากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ได้ ปุ๋ยและรถแทรคเตอร์พลังน้ำมัน ขยายการผลิตอาหารอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เลี้ยงดูประชากรได้มากขึ้น สงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นความขัดแย้งครั้งแรก ที่ดำเนินไปด้วยเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์ แล้วตามมาด้วยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่เราได้จรวดนำวิถีและระเบิดนิวเคลียร์มา ในระหว่างสองสงครามนั้นเป็นช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ครั้งใหญ่ที่เกิดจากการผลิตเกินขนาด สายการผลิตที่เดินด้วยพลังเครื่องจักร ผลิตสินค้าออกมาเร็วเกินกว่าที่มนุษย์ต้องการ ผู้บริหารสายโฆษณาสร้างค่านิยมที่เรียกว่า บริโภคนิยมขึ้นเพื่อรองรับการผลิตที่เกินขนาด ในช่วงปี 1940-1949 นักโฆษณาใช้โทรทัศน์ เป็นเครื่องมือจูงใจผู้บริโภครุ่นใหม่ ในช่วงปี 1960-1969 มีวิกฤติน้ำมันเกิดขึ้น ทุกคนตกตะลึงเมื่อตระหนักว่าตนเอง ต้องพึ่งพาน้ำมันมากมายขนาดไหน ด้วยวิกฤติพลังงานนี่เองที่ทำให้การรณรงค์ เรื่องสิ่งแวดล้อมถือกำเนิดขึ้น แต่เมื่อราคาน้ำมันตกลง ทุกคนก็หลงลืมความทุกข์ยากในช่วงขาดแคลนพลังงานไป เกิดการดวลกันครั้งสำคัญระหว่างเศรษฐกิจการตลาด กับเศรษฐกิจแบบวางแผน เศรษฐกิจการตลาดชนะ ลาก่อนจักรวรรดิโซเวียตอันชั่วร้าย นักการเมืองรวมหัวกันตัดสินกันว่า เศรษฐกิจการตลาดจะสามารถแก้ไขได้ทุกปัญหา และแล้วคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็มา โลกาภิวัตน์เข้ามายึดครองเมื่อเศรษฐกิจการตลาดเล็งเห็นว่า ค่าแรงมันถูกกว่ามากในเมืองจีน ในบัดดลทุกคนก็มีโทรศัพท์มือถือ แต่แล้วการผลิตน้ำมันในโลกเกิดชะงักงัน บัดนี้จีนกำลังเผาถ่านหินครึ่งหนึ่งที่ผลิตได้ในโลก เพื่อผลิตสินค้าส่งออก แต่ในอนาคตจีนจะไปเอาถ่านหินและน้ำมันมาจากไหน เพื่อหล่อเลี้ยงการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยปัญหาสิ่งแวดล้อม การเพิ่มขึ้นของปริมาณ CO2 นำไปสู่คลื่นความร้อนที่ทุบสถิติเดิม น้ำท่วม ภัยแล้ง ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นในมหาสมุทร หน้าดินเสื่อมสภาพไป 25 พันล้านตันต่อปี เนื่องมาจากอุตสาหกรรมการเกษตร ป่าดึกดำบรรพ์ทยอยหายไป สายพันธุ์สิ่งมีชีวิตสูญไปในอัตราที่เร็วกว่าปกติพันเท่า แหล่งน้ำจืดหาได้ยากขึ้น หรือถูกทำให้เป็นพิษ บริษัทน้ำมันย้ายไปขุดเจาะห่างออกไปเป็นไมล์ๆ ในทะเล เพราะว่าแหล่งน้ำมันที่ขุดเจาะง่ายได้หมดไปแล้ว แต่แท่นขุดเจาะน้ำลึกแห่งหนึ่งได้ระเบิด และทำลายความงามอ่าวเมกซิโกไป อุตสาหกรรมการผลิตย้ายฐานไปทำลายสิ่งแวดล้อม ในประเทศที่มีแรงงานถูก ในขณะที่สหรัฐกลายเป็นแหล่งพนัน ภาคการเงินมีขนาดคิดเป็น 40% ของเศรษฐกิจ แต่วอลสตรีทได้ใช้อำนาจทางการเงินเกินตัว ธนาคารล้ม การว่างงานทะยานขึ้น เครดิตเหือดหาย เศรษฐกิจอยู่ในภาวะจวนเจียนจะล่มสลาย โอเค ปัจจุบัน มันน่าประหลาดใจจริงๆ ที่เรามาได้ไกลขนาดนี้ภายในสองร้อยปี เพียงแค่สามชั่วอายุคนเท่านั้น จากการเริ่มต้นยุคอุตสาหกรรมมาถึงปัจจุบัน แต่เรากำลังมุ่งไปไหนกัน? เราไม่สามารถที่จะเพิ่มประชากรมนุษย์เป็นสองเท่า เราไม่สามารถที่จะทิ้งเศษคาร์บอนไปในบรรยากาศ ต่อไปเรื่อยๆ ได้ เราไม่สามารถที่จะเดินหน้าทำลายหน้าดิน เพิ่มจำนวนประชากร และขยายการบริโภค หรือวางรากฐานเศรษฐกิจของเราอยู่บนการผลาญเชื้อเพลิง จากซากดึกดำบรรพ์อย่างไม่หยุดยั้งได้อีกต่อไป เราไม่สามารถที่จะพิมพ์ธนบัตรเพิ่มขึ้น เพียงเพื่อแก้วิกฤติหนี้สิน ที่ผ่านมามันเป็นการเดินทางที่น่าตื่นเต้นยินดียิ่ง แต่ทุกอย่างต้องมีขอบเขต เปล่า มันยังไม่ใช่จุดจบของโลกหรอก แต่มันมีสี่อย่างที่เราต้องรีบทำ เรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่โดยไม่มีเชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์ ปรับตัวเข้ากับจุดจบของการเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างที่เราคุ้นเคยกันมา เลี้ยงมนุษย์เจ็ดพันล้านคนให้รอด และควบคุมประชากรโลก ให้อยู่ในระดับที่อยู่กันได้อย่างยั่งยืน และจัดการกับมรดกแห่งความย่อยยับ ทางสิ่งแวดล้อมของเราให้ได้ โดยย่อ เราต้องอยู่รอดให้ได้ภายในงบประมาณ ทางทรัพยากรหมุนเวียนที่ธรรมชาติมีให้ ในอัตราที่เติมเต็มได้ทันโดยธรรมชาติ เราจะทำกันได้มั้ย? เราไม่มีทางเลือก! แหล่งพลังงานทางเลือกเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง แต่ไม่มีอะไรที่จะสามารถจะมาแทนเชื้อเพลิง จากซากดึกดำบรรพ์ได้ในเวลาที่เรามีเหลืออยู่ นอกจากนี้เรายังได้ออกแบบและสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ในการขนส่ง การผลิตและจ่ายไฟฟ้า ตลอดจนเกษตรกรรมให้เหมาะกับ น้ำมัน ถ่านหิน และ แก๊ส การเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานชนิดอื่น จะบีบให้เราต้องออกแบบเมือง กระบวนการผลิต ระบบสาธารณสุข และอื่นๆ ขึ้นใหม่เลยทีเดียว นอกจากนี้เรายังต้องหันมาทบทวนวัฒนธรรม ค่านิยมต่างๆ กันใหม่ด้วย ไม่มีปัญหาระดับโลกใดๆ เลย ที่เราสามารถจะแยกแก้ไขแบบเดี่ยวๆ ได้ และบางปัญหาอาจไม่มีทางแก้ไขได้อย่างเด็ดขาดด้วยซ้ำ เราต้องเตรียมตัวเตรียมใจว่าจะต้องทำอะไรนอกกรอบเดิมๆ เป้าหมายที่ดีที่สุดของเราคือการมีความยืดหยุ่น ความสามารถที่จะผ่อนแรงกระแทกที่มาปะทะ และดำเนินชีวิตต่อไป ถึงเราเลือกไม่ทำอะไรเลย เราก็ยังคงต้องผ่านไปสู่ยุคหลังคาร์บอนอยู่ดี แต่จะเป็นการอยู่อย่างไร้อนาคต แต่ถ้าเราเลือกที่จะวางแผนเพื่อการเปลี่ยนผ่าน เราจะสามารถมีโลกที่รองรับชุมชนอันเข้มแข็ง ที่มีสุขภาพดี และมีความคิดสร้างสรร พร้อมทั้งระบบนิเวศสำหรับสิ่งมีชีวิตอีกนับล้านๆ สายพันธุ์ได้ ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง เราหนีไม่พ้นที่จะต้องเดินทางไปกับมันชั่วชีวิต ทำความเข้าใจกับปัญหาและร่วมมือกันแก้ไข เราทุกคนลงเรือลำเดียวกันแล้ว บรรยายโดย: ริชชาร์ด ไฮน์เบอร์ก ภาพประกอบโดย: MONSTRO