Return to Video

ชโลโม เบนาร์ทซี: ออมสำหรับวันพรุ่ง วันพรุ่งนี้

  • 0:00 - 0:03
    วันนี้ผมจะพูดเรื่องการออมมากขึ้นครับ
  • 0:03 - 0:06
    แต่ไม่ใช่วันนี้ ไม่ใช่พรุ่งนี้
  • 0:06 - 0:08
    ผมจะพูดถึง "ออมเพิ่มในวันพรุ่ง"
  • 0:08 - 0:10
    มันเป็นโครงการที่ ริชาร์ด เธเลอร์
  • 0:10 - 0:12
    จากมหาวิทยาลัยชิคาโกกับผม
  • 0:12 - 0:15
    คิดค้นเมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้ว
  • 0:15 - 0:17
    ในแง่หนึ่งโครงการนี้
  • 0:17 - 0:19
    เป็นตัวอย่างของการเงินเชิงพฤติกรรม
  • 0:19 - 0:21
    สิ่งที่สำคัญ --
  • 0:21 - 0:24
    เราจะนำการเงินพฤติกรรม ไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร
  • 0:24 - 0:27
    ทีนี้คุณอาจสงสัยว่า การเงินพฤติกรรมคืออะไร?
  • 0:27 - 0:30
    เราลองมาคิดกันก่อนนะครับว่า เราจัดการเงินกันอย่างไร
  • 0:30 - 0:33
    ลองเริ่มจากสินเชื่อบ้าน
  • 0:33 - 0:35
    หัวข้อร่วมสมัยในกระแส
  • 0:35 - 0:37
    อย่างน้อยก็ในสหรัฐอเมริกา
  • 0:37 - 0:39
    คนเยอะมากเลยซื้อ
  • 0:39 - 0:42
    บ้านที่ใหญ่ที่สุดที่พวกเขาสามารถซื้อได้
  • 0:42 - 0:45
    ที่จริงก็ใหญ่กว่านั้นนิดหน่อยด้วยซ้ำ
  • 0:45 - 0:48
    เสร็จแล้วก็ถูกยึดบ้าน
  • 0:48 - 0:50
    เสร็จแล้วก็ประนามธนาคารว่า
  • 0:50 - 0:53
    เป็นพวกสารเลวที่ปล่อยให้กู้ตั้งแต่แรก
  • 0:53 - 0:55
    เราลองนึกสิว่า
  • 0:55 - 0:57
    เราจัดการความเสี่ยงอย่างไร --
  • 0:57 - 0:59
    ยกตัวอย่างเช่น การลงทุนในตลาดหุ้น
  • 0:59 - 1:02
    สองปีก่อน สามปีก่อน หรือสี่ปีก่อน
  • 1:02 - 1:04
    ตลาดหุ้นไปได้สวย
  • 1:04 - 1:07
    แน่นอน เราเป็นพวกชอบความเสี่ยง
  • 1:07 - 1:09
    แล้วตลาดก็ชักกระตุก
  • 1:09 - 1:11
    แล้วเราบอกว่า "โอ้โห
  • 1:11 - 1:14
    ตอนขาดทุนนี่มันรูู้สึก
  • 1:14 - 1:17
    แตกต่างมากเลย
  • 1:17 - 1:20
    กับสิ่งที่เราคิดว่าจะเกิด
  • 1:20 - 1:22
    ตอนที่ตลาดกำลังขึ้น"
  • 1:22 - 1:25
    ดังนั้น เราอาจกำลังรับมือกับความเสี่ยง
  • 1:25 - 1:27
    ได้ไม่ค่อยดีนัก
  • 1:27 - 1:30
    พวกคุณกี่คนที่นี่มีไอโฟนครับ?
  • 1:30 - 1:33
    มีไหมครับ? เยี่ยมเลย
  • 1:33 - 1:36
    ผมพนันได้ว่าพวกคุณหลายคน
  • 1:36 - 1:39
    ทำประกันไอโฟนของคุณ --
  • 1:39 - 1:42
    คุณซื้อประกันโดยนัย ถ้าคุณจ่ายค่าขยายอายุประกันสินค้า
  • 1:42 - 1:44
    ถ้าคุณทำไอโฟนหายล่ะ?
  • 1:44 - 1:46
    หรือถ้าทำแบบนี้?
  • 1:46 - 1:48
    มีใครในที่นี้มีลูกไหมครับ?
  • 1:48 - 1:50
    มีไหมครับ?
  • 1:50 - 1:52
    ยกมือค้างไว้ก่อนนะ
  • 1:52 - 1:55
    มีใครซื้อประกันชีวิตบ้างครับ
  • 1:55 - 1:57
    ผมเห็นหลายคนลดมือลงแล้ว
  • 1:57 - 1:59
    ผมจะพยากรณ์ว่า
  • 1:59 - 2:01
    ถ้าพวกคุณเป็นตัวแทนของประชากรเฉลี่ย
  • 2:01 - 2:03
    คนที่ซื้อประกันไอโฟนจะมีมากกว่า
  • 2:03 - 2:06
    คนที่ซื้อประกันชีวิตให้ตัวเอง
  • 2:06 - 2:08
    ต่อให้มีลูกแล้วก็ตาม
  • 2:08 - 2:11
    เราตัดสินใจเรื่องประกันไม่เก่งเลย
  • 2:11 - 2:15
    ครัวเรือนอเมริกันโดยเฉลี่ย
  • 2:15 - 2:18
    ใช้เงิน 1,000 เหรียญสหรัฐต่อปี
  • 2:18 - 2:20
    ซื้อล็อตเตอรี่
  • 2:20 - 2:23
    ผมรู้ว่าตัวเลขนี้ฟังดูบ้ามาก
  • 2:23 - 2:26
    มีใครในห้องนี้ใช้เงินพันเหรียญทุกปี ซื้อล็อตเตอรี่ครับ?
  • 2:26 - 2:28
    ไม่มีเลย
  • 2:28 - 2:31
    นั่นแปลว่าคนที่ไม่ได้อยู่ในห้องนี้
  • 2:31 - 2:33
    ต้องใช้เงินมากกว่าหนึ่งพันเหรียญแน่ๆ
  • 2:33 - 2:36
    ค่าเฉลี่ยถึงได้ออกมาพันเหรียญ
  • 2:36 - 2:38
    ผู้มีรายได้น้อย
  • 2:38 - 2:42
    ใช้เงินซื้อล็อตเตอรี่มากกว่าพันเหรียญ
  • 2:42 - 2:44
    แล้วมันแปลว่าอะไรครับ?
  • 2:44 - 2:47
    เราจัดการเงินได้ไม่เก่งเลย
  • 2:47 - 2:50
    การเงินพฤติกรรม ที่จริงก็คือส่วนผสม
  • 2:50 - 2:52
    ระหว่างจิตวิทยากับเศรษฐศาสตร์
  • 2:52 - 2:54
    เพื่อพยายามเข้าใจ
  • 2:54 - 2:56
    ความผิดพลาดเรื่องเงินที่เราทำๆ กัน
  • 2:56 - 2:58
    เอาล่ะ ผมสามารถยืนอยู่ตรงนี้
  • 2:58 - 3:02
    ได้อีก 12 นาทีกับ 53 วินาที
  • 3:02 - 3:04
    เพื่อเล่าเรื่องตลกของวิธีต่างๆ ที่
  • 3:04 - 3:06
    เราใช้จัดการเงิน
  • 3:06 - 3:09
    แล้วพอเล่าจบพวกคุณจะถามว่า "เราจะช่วยคนได้ยังไง?"
  • 3:09 - 3:12
    นั่นคือประเด็นที่ผมอยากเน้นในวันนี้
  • 3:12 - 3:14
    เราจะเข้าใจ
  • 3:14 - 3:17
    เกี่ยวกับความผิดพลาดเรื่องเงินที่ทำๆ กัน
  • 3:17 - 3:20
    แล้วเปลี่ยนอุปสรรคเชิงพฤติกรรมเหล่านั้น
  • 3:20 - 3:22
    ไปเป็นวิธีแก้ไขเชิงพฤติกรรมได้อย่างไร?
  • 3:22 - 3:24
    วันนี้ผมจะเล่าให้ฟัง
  • 3:24 - 3:26
    เรื่องโครงการออมเพิ่มในวันพรุ่ง
  • 3:26 - 3:28
    ผมอยากพูดถึงประเด็น
  • 3:28 - 3:30
    การออมเงิน
  • 3:30 - 3:32
    บนจอคือภาพ
  • 3:32 - 3:34
    กลุ่มตัวอย่างประชากรเฉลี่ย
  • 3:34 - 3:36
    ของคนอเมริกัน 100 คน
  • 3:36 - 3:39
    เราจะมาดูพฤติกรรมการออมของพวกเขา
  • 3:39 - 3:41
    สิ่งแรกที่เราสังเกตคือ
  • 3:41 - 3:43
    คนครึ่งหนึ่ง
  • 3:43 - 3:45
    ไม่มีแม้แต่
  • 3:45 - 3:47
    แผนเงินสำรองเลี้ยงชีพ
  • 3:47 - 3:50
    ยากมากที่พวกเขาจะออม
  • 3:50 - 3:53
    พวกเขาไม่สามารถมีเงินเหลือจากค่าจ้าง
  • 3:53 - 3:55
    มาใส่บัญชีสำรองเลี้ยงชีพได้
  • 3:55 - 3:57
    ก่อนที่พวกเขามองเห็น
  • 3:57 - 3:59
    ก่อนจะแตะเงินก้อนนี้ได้
  • 3:59 - 4:02
    แล้วคนอีกครึ่งหนึ่งที่เหลือล่ะ?
  • 4:02 - 4:05
    บางคนเลือกไม่ออม
  • 4:05 - 4:07
    คือแค่ขี้เกียจ
  • 4:07 - 4:10
    ไม่เคยเข้าเว็บซับซ้อน
  • 4:10 - 4:13
    คลิก 17 ครั้งเพื่อเปิดบัญชีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • 4:13 - 4:15
    เสร็จแล้วก็จะต้องตัดสินใจว่าจะลงทุนยังไง
  • 4:15 - 4:17
    จากตัวเลือก 52 ตัว
  • 4:17 - 4:21
    ก่อนหน้านี้พวกเขาไม่เคยรู้จัก "กองทุนตลาดเงิน" มาก่อน
  • 4:21 - 4:23
    ข้อมูลประดังจนเลือกไม่ถูก ก็เลยไม่สมัคร
  • 4:23 - 4:28
    มีกี่คนกันที่มีบัญชีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ?
  • 4:28 - 4:31
    หนึ่งในสามของชาวอเมริกันทั้งหมด
  • 4:31 - 4:33
    สองในสามตอนนี้ไม่ได้ออม
  • 4:33 - 4:35
    แล้วพวกเขาออมเงินกันพอหรือเปล่า?
  • 4:35 - 4:37
    ลองไม่นับคนที่
  • 4:37 - 4:39
    บอกว่าพวกเขาออมน้อยเกินไป
  • 4:39 - 4:41
    มีเพียงหนึ่งในสิบคน
  • 4:41 - 4:44
    ที่ออมพอ
  • 4:44 - 4:46
    เก้าในสิบคน
  • 4:46 - 4:49
    ออมผ่านบัญชีสำรองเลี้ยงชีพไม่ได้
  • 4:49 - 4:52
    ตัดสินใจไม่ออม หรือไม่ตัดสินใจ
  • 4:52 - 4:55
    หรือไม่ก็ออมในบัญชี แต่น้อยเกินไป
  • 4:55 - 4:57
    ผมคิดว่าเรามีปัญหา
  • 4:57 - 4:59
    กับคนที่ออมไว้มาก
  • 4:59 - 5:01
    ลองมาดูเรื่องนี้กัน
  • 5:01 - 5:03
    เรามีคนหนึ่งคน --
  • 5:03 - 5:06
    อืม ที่จริงเราต้องหั่นครึ่งเขา
  • 5:06 - 5:09
    เพราะมันน้อยกว่าหนึ่งเปอร์เซ็นต์
  • 5:09 - 5:12
    ชาวอเมริกันประมาณครึ่งเปอร์เซ็นต์
  • 5:12 - 5:17
    รู้สึกว่าพวกเขาออมเงินไว้อย่างเยอะ
  • 5:17 - 5:19
    เราจะทำอะไรกับเรื่องนี้ดี?
  • 5:19 - 5:21
    นี่คือประเด็นที่ผมอยากพูดถึง
  • 5:21 - 5:23
    เราต้องเข้าใจว่า
  • 5:23 - 5:25
    ทำไมคนถึงไม่ออม
  • 5:25 - 5:27
    แล้วเราถึงจะมีหวังว่าสามารถ
  • 5:27 - 5:29
    เปลี่ยนอุปสรรคเชิงพฤติกรรมนี้
  • 5:29 - 5:31
    ให้เป็นวิธีแก้เชิงพฤติกรรมได้
  • 5:31 - 5:34
    แล้วดูว่ามันมีพลังแค่ไหน
  • 5:34 - 5:36
    ฉะนั้นผมขอเปลี่ยนเรื่องแป้บนึง
  • 5:36 - 5:38
    เราจะมาระบุตัวปัญหา
  • 5:38 - 5:41
    อุปสรรค, อุปสรรคเชิงพฤติกรรม
  • 5:41 - 5:43
    ที่ขัดขวางคนไม่ให้ออม
  • 5:43 - 5:47
    ผมจะเปลี่ยนเรื่อง ไปพูดเรื่องกล้วยกับช็อกโกแลตครับ
  • 5:47 - 5:50
    สมมุติว่าสัปดาห์หน้าเราจะมีงานเท็ดเจ๋งๆ อีกงาน
  • 5:50 - 5:52
    แล้วตอนพัก
  • 5:52 - 5:54
    ก็มีขนมฟรีให้กิน
  • 5:54 - 5:56
    คุณเลือกได้ระหว่างกล้วยกับช็อกโกแลต
  • 5:56 - 5:59
    พวกคุณกี่คนครับคิดว่าจะเลือกกินกล้วย
  • 5:59 - 6:01
    ระหว่างพักเบรคงานเท็ดสมมุติ สัปดาห์หน้า?
  • 6:01 - 6:03
    ใครจะกินกล้วยครับ?
  • 6:03 - 6:05
    เยี่ยมเลย
  • 6:05 - 6:07
    ผมพยากรณ์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์
  • 6:07 - 6:10
    ว่าพวกคุณ 74 เปอร์เซ็นต์จะกินกล้วย
  • 6:10 - 6:14
    อย่างน้อยงานวิจัยที่ยอดมากชิ้นหนึ่ง ก็พยากรณ์อย่างนี้
  • 6:15 - 6:18
    เสร็จแล้วก็นับวัน
  • 6:18 - 6:22
    ตามไปดูว่าคนกินอะไรจริงๆ
  • 6:23 - 6:26
    คนที่จินตนาการว่าตัวเอง
  • 6:26 - 6:28
    จะกินกล้วย
  • 6:28 - 6:30
    ลงเอยด้วยการกินช็อกโกแลต
  • 6:30 - 6:32
    หนึ่งสัปดาห์ให้หลัง
  • 6:32 - 6:34
    การควบคุมตัวเอง
  • 6:34 - 6:37
    ไม่ใช่ปัญหาในอนาคต
  • 6:37 - 6:39
    มันเป็นแค่ปัญหา ณ ตอนนี้
  • 6:39 - 6:43
    เมื่อมีช็อกโกแลตอยู่ต่อหน้าเรา
  • 6:43 - 6:46
    เรื่องนี้เกี่ยวอะไรกับเวลาและการออมหรือครับ
  • 6:46 - 6:49
    นี่คือเรื่องของการอดใจรอไม่ได้?
  • 6:49 - 6:53
    ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์บางคนเรียกว่า อคติชอบปัจจุบัน (present bias)
  • 6:53 - 6:55
    เราคิดถึงเรื่องการออม เรารู้ดีว่าเราควรจะออมเงิน
  • 6:55 - 6:58
    เรารู้ว่าเราจะออมปีหน้า แต่วันนี้ไปใช้เงินดีกว่า
  • 6:58 - 7:00
    เดี๋ยวก็คริสต์มาสแล้ว
  • 7:00 - 7:03
    ไปซื้อของขวัญแจกทุกคนที่เรารู้จักดีกว่า
  • 7:03 - 7:07
    ฉะนั้นเจ้าอคติชอบปัจจุบันนี้
  • 7:07 - 7:09
    ทำให้เราคิดถึงการออม
  • 7:09 - 7:11
    แต่ลงท้ายกลับใช้เงินแทน
  • 7:11 - 7:13
    ตอนนี้ผมอยากพูดถึง
  • 7:13 - 7:15
    อุปสรรคเชิงพฤติกรรมอีกเรื่องที่กีดขวางการออม
  • 7:15 - 7:17
    เรื่องนี้เกี่ยวกับแรงเฉื่อย
  • 7:17 - 7:19
    แต่ตรงนี้ขอนอกเรื่องอีกนิดนะครับ
  • 7:19 - 7:22
    มาดูเรื่องการบริจาคอวัยวะกัน
  • 7:22 - 7:25
    งานวิจัยชิ้นเอก ที่เปรียบเทียบระหว่างประเทศต่างๆ
  • 7:25 - 7:28
    เราจะดูสองประเทศที่คล้ายกัน
  • 7:28 - 7:31
    เยอรมนี กับ ออสเตรีย
  • 7:31 - 7:33
    ในเยอรมนี
  • 7:33 - 7:35
    ถ้าคุณอยากบริจาคอวัยวะ --
  • 7:35 - 7:37
    ถ้าพระเจ้าช่วยให้คุณไม่ประสบ
  • 7:37 - 7:39
    อุบัติเหตุร้ายแรง --
  • 7:39 - 7:42
    เวลาคุณขอใบขับขี่หรือบัตรประชาชน
  • 7:42 - 7:44
    คุณติ๊กช่องที่ระบุว่า
  • 7:44 - 7:46
    "ข้าพเจ้าประสงค์จะบริจาคอวัยวะ"
  • 7:46 - 7:48
    ไม่ค่อยมีใครชอบติ๊กหรอก
  • 7:48 - 7:50
    มันต้องใช้ความพยายาม คุณต้องหยุดคิด
  • 7:50 - 7:53
    มีสิบสองเปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ทำ
  • 7:53 - 7:56
    ออสเตรีย ประเทศเพื่อนบ้าน
  • 7:56 - 7:58
    คล้ายกันนิดหน่อย ต่างกันเล็กน้อย
  • 7:58 - 8:00
    ความแตกต่างคืออะไร?
  • 8:00 - 8:02
    โอเค คุณยังมีทางเลือก
  • 8:02 - 8:04
    คือเลือกได้ว่า
  • 8:04 - 8:07
    อยากจะบริจาคอวัยวะหรือไม่อยาก
  • 8:07 - 8:09
    แต่เวลาคุณได้ใบขับขี่
  • 8:09 - 8:11
    คุณจะติ๊ก
  • 8:11 - 8:15
    ถ้าคุณไม่อยากบริจาคอวัยวะ
  • 8:15 - 8:17
    ไม่มีใครติ๊กช่องนี้เลยครับ
  • 8:17 - 8:19
    เหมือนว่าใช้ความพยายามมากเกิน
  • 8:19 - 8:22
    มีคนติ๊กเปอร์เซ็นเดียว ที่เหลือไม่ทำอะไร
  • 8:22 - 8:24
    การไม่ทำอะไรนี่ปกติมาก
  • 8:24 - 8:27
    มีน้อยคนที่กาช่อง
  • 8:27 - 8:29
    นัยของมันคืออะไร
  • 8:29 - 8:31
    ต่อการช่วยชีวิตคน
  • 8:31 - 8:34
    และมีอวัยวะให้เปลี่ยนเพียงพอ?
  • 8:34 - 8:36
    ในเยอรมนี คน 12 เปอร์เซ็นต์ติ๊กช่อง
  • 8:36 - 8:39
    มีผู้บริจาคอวัยวะ 12 เปอร์เซ็นต์
  • 8:39 - 8:41
    อวัยวะขาดแคลนขนาดหนัก
  • 8:41 - 8:43
    โชคดีเถอะ ถ้าคุณต้องเปลี่ยนอวัยวะ
  • 8:43 - 8:46
    ในออสเตรีย เหมือนกันคือไม่มีใครกาช่อง
  • 8:46 - 8:49
    ดังนั้น คน 99 เปอร์เซ็นต์
  • 8:49 - 8:51
    จึงเป็นผู้บริจาคอวัยวะ
  • 8:51 - 8:53
    แรงเฉื่อย การไม่ทำอะไร
  • 8:53 - 8:55
    อะไรคือตัวเลือกอัตโนมัติ
  • 8:55 - 8:57
    ถ้าคนไม่ทำอะไร
  • 8:57 - 9:00
    ถ้าพวกเขาผลัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ ถ้าไม่ติ๊กช่อง?
  • 9:00 - 9:02
    มีพลังมากครับ
  • 9:02 - 9:04
    เราจะพูดเรื่อง
  • 9:04 - 9:08
    สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อคนรูู้สึกกลัวและข้อมูลท่วม
  • 9:08 - 9:11
    เวลาตัดสินใจแผนสำรองเลี้ยงชีพ
  • 9:11 - 9:14
    เราจะทำให้พวกเขาเป็นสมาชิกโดยอัตโนมัติ
  • 9:14 - 9:16
    หรือว่าให้เลือกเป็น?
  • 9:16 - 9:19
    ในแผนสำรองเลี้ยงชีพจำนวนมาก
  • 9:19 - 9:21
    ถ้าหากคนไม่ทำอะไร
  • 9:21 - 9:24
    แปลว่าพวกเขาไม่ได้กำลังออมสำหรับวัยเกษียณ
  • 9:24 - 9:26
    ถ้าพวกเขาไม่ติ๊กช่อง
  • 9:26 - 9:29
    และการติ๊กนั้นต้องใช้ความพยายาม
  • 9:29 - 9:32
    เราได้คุยกัน เรื่องอุปสรรคเชิงพฤติกรรมสองสามเรื่อง
  • 9:32 - 9:35
    ผมจะพูดอีกเรื่องก่อนที่เราจะพลิกอุปสรรคไปเป็นวิธีแก้ปัญหา
  • 9:35 - 9:37
    เรื่องนี้เกี่ยวกับลิงและแอปเปิลครับ
  • 9:37 - 9:39
    จริงๆ นะ มันเป็นงานวิจัยจริง
  • 9:39 - 9:43
    และก็เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมาก
  • 9:43 - 9:46
    ลิงกลุ่มหนึ่งได้กินแอปเปิลลูกนึง พวกมันมีความสุขมาก
  • 9:46 - 9:48
    อีกกลุ่มได้แอปเปิลสองลูก ลูกหนึ่งถูกยึดไป
  • 9:48 - 9:50
    ยังมีเหลืออีกลูกหนึ่ง
  • 9:50 - 9:53
    พวกมันโกรธมาก
  • 9:53 - 9:56
    ทำไมแกถึงเอาแอปเปิลเราไป?
  • 9:56 - 9:59
    พฤติกรรมนี้เรียกว่า ความเกลียดการสูญเสีย
  • 9:59 - 10:01
    เราเกลียดมากเวลาต้องเสียอะไร
  • 10:01 - 10:04
    ต่อให้มันจะมีความเสี่ยงน้อยมากก็เถอะ
  • 10:04 - 10:07
    คุณคงเกลียดมากเวลาไปที่ตู้เอทีเอ็ม
  • 10:07 - 10:09
    กดเงินออกมา 100 เหรียญ
  • 10:09 - 10:11
    แล้วสังเกตว่าธนบัตรใบละ 20 เหรียญหายไปหนึ่งใบ
  • 10:11 - 10:13
    เจ็บปวดมากเลย
  • 10:13 - 10:15
    แม้มันจะไม่มีความหมายอะไร
  • 10:15 - 10:19
    20 เหรียญนั่นซื้อข้าวเที่ยงกล่องเดียว ก็หมดแล้ว
  • 10:19 - 10:23
    ความเกลียดการสูญเสียนี้
  • 10:23 - 10:26
    แสดงออกในเรื่องการออมเช่นกัน
  • 10:26 - 10:28
    เพราะความรู้สึกของคนเรา
  • 10:28 - 10:31
    ทั้งอารมณ์และสามัญสำนึก
  • 10:31 - 10:33
    มองว่าการออมคือการสูญเสีย
  • 10:33 - 10:36
    เพราะฉันต้องลดรายจ่าย
  • 10:36 - 10:38
    โอเคครับ เราพูดกันเรื่อง
  • 10:38 - 10:40
    อุปสรรคเชิงพฤติกรรมครบแล้ว
  • 10:40 - 10:44
    สุดท้ายก็เกี่ยวกับการออมทั้งหมด
  • 10:44 - 10:47
    ไม่ว่าคุณจะนึกถึงการที่เราอดใจรอไม่ได้
  • 10:47 - 10:50
    ช็อกโกแลตเทียบกับกล้วย
  • 10:50 - 10:53
    ยังไงก็เจ็บปวดถ้าต้องออมวันนี้
  • 10:53 - 10:55
    สนุกกว่ากันมาก
  • 10:55 - 10:57
    ถ้าไปใช้เงินวันนี้
  • 10:57 - 11:00
    เราพูดถึงแรงเฉื่อยกับการบริจาคอวัยวะ
  • 11:00 - 11:02
    และการติ๊กช่อง
  • 11:02 - 11:04
    ถ้าคนต้องติ๊กหลายช่องมากๆ
  • 11:04 - 11:06
    ก่อนจะเปิดบัญชีสำรองเลี้ยงชีพได้
  • 11:06 - 11:08
    พวกเขาก็จะผลัดวันประกันพรุ่ง
  • 11:08 - 11:10
    และไม่สมัคร
  • 11:10 - 11:12
    สุดท้าย เราพูดถึงความเกลียดการสูญเสีย
  • 11:12 - 11:14
    ลิงกับแอปเปิล
  • 11:14 - 11:17
    ถ้าในหัวคนมองว่า
  • 11:17 - 11:20
    การออมเพื่อวัยเกษียณคือความสูญเสีย
  • 11:20 - 11:23
    พวกเขาก็จะไม่ออมเพื่อวัยเกษียณ
  • 11:23 - 11:25
    เรามีความท้าทายเหล่านี้
  • 11:25 - 11:27
    สิ่งที่ ริชาร์ด เธเลอร์ กับผม
  • 11:27 - 11:29
    รู้สึกอัศจรรย์ใจเสมอมา --
  • 11:29 - 11:31
    คือการนำการเงินเชิงพฤติกรรม
  • 11:31 - 11:33
    ทำมันให้เป็นการเงินเชิงพฤติกรรมโฉมใหม่
  • 11:33 - 11:35
    หรือ การเงินเชิงพฤติกรรม 2.0
  • 11:35 - 11:37
    หรือการเงินเชิงพฤติกรรมภาคปฏิบัติ --
  • 11:37 - 11:41
    พลิกอุปสรรคให้เป็นวิธีแก้ปัญหา
  • 11:41 - 11:44
    เราคิดค้นวิธีแก้ปัญหาที่เรียบง่ายอย่างน่าเขิน
  • 11:44 - 11:48
    เรียกว่า ออมเพิ่ม ไม่ใช่วันนี้ แต่ในวันพรุ่ง
  • 11:48 - 11:50
    มันแก้ปัญหาความท้าทาย
  • 11:50 - 11:52
    ที่เราพูดมาได้อย่างไร?
  • 11:52 - 11:54
    ถ้าคุณคิดถึงปัญหา
  • 11:54 - 11:56
    ของกล้วยกับช็อกโกแลต
  • 11:56 - 11:59
    เราคิดว่าสัปดาห์หน้าเราจะกินกล้วย
  • 11:59 - 12:02
    เราคิดว่าปีหน้าเราจะออมมากขึ้น
  • 12:02 - 12:05
    ออมเพิ่มในวันพรุ่ง
  • 12:05 - 12:07
    เชื้อเชิญให้พนักงาน
  • 12:07 - 12:09
    ออมมากกว่าเดิม อาจจะปีหน้า --
  • 12:09 - 12:11
    ซักครั้งในอนาคต
  • 12:11 - 12:13
    เมื่อเราจินตนาการว่าตัวเอง
  • 12:13 - 12:15
    กำลังกินกล้วย
  • 12:15 - 12:17
    ทำงานอาสามากขึ้นในชุมชน
  • 12:17 - 12:21
    ออกกำลังกายมากขึ้น ทำสิ่งที่ถูกต้องสำหรับโลก
  • 12:21 - 12:24
    ทีนี้ เราพูดไปแล้วด้วยเรื่องติ๊กช่อง
  • 12:24 - 12:27
    และความยากลำบากของการลงมือทำ
  • 12:27 - 12:29
    ออมเพิ่มในวันพรุ่ง
  • 12:29 - 12:31
    ทำให้เรื่องนี้ง่ายมาก
  • 12:31 - 12:33
    มันจัดการให้โดยอัตโนมัติ
  • 12:33 - 12:37
    เมื่อคุณบอกผมว่าคุณอยากออมมากขึ้นในอนาคต
  • 12:37 - 12:39
    สมมุติว่าทุกเดือนมกราคม
  • 12:39 - 12:42
    คุณก็จะออมเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ
  • 12:42 - 12:45
    เราจะหักเงินเดือนคุณทันที เอาเงินใส่บัญชีสำรองเลี้ยงชีพ
  • 12:45 - 12:47
    ก่อนที่คุณจะเห็น ก่อนที่คุณจะได้แตะต้องมัน
  • 12:47 - 12:49
    ก่อนที่คุณจะไปถึงประเด็น
  • 12:49 - 12:52
    อดใจรอไม่ไหว
  • 12:52 - 12:55
    แต่เราจะทำยังไงเรื่องลิง
  • 12:55 - 12:57
    กับความเกลียดความสูญเสีย?
  • 12:57 - 12:59
    ปีหน้าพอถึงเดือนมกรา
  • 12:59 - 13:01
    คนอาจรู้สึกว่าถ้าออมมากขึ้น
  • 13:01 - 13:04
    ก็จะต้องใช้เงินน้อยลง รู้สึกเดือดร้อน
  • 13:05 - 13:07
    ครับ บางทีมันอาจไม่ใช่แค่มกราคม
  • 13:07 - 13:10
    บางทีเราอาจให้คนออมมากขึ้น
  • 13:10 - 13:13
    ทุกครั้งที่ได้เงินมากขึ้น
  • 13:13 - 13:16
    วิธีนี้ เวลาที่พวกเขามีเงินมากขึ้น ตอนได้ขึ้นเงินเดือน
  • 13:16 - 13:20
    พวกเขาจะได้ไม่ต้องลดค่าใช้จ่าย
  • 13:20 - 13:22
    พวกเขาดึงเงินส่วนหนึ่ง
  • 13:22 - 13:24
    จากเงินเดือนส่วนที่เพิ่มขึ้น
  • 13:24 - 13:26
    เอาไปใช้มากขึ้น --
  • 13:26 - 13:28
    แล้วกันเงินอีกส่วนของส่วนเพิ่ม
  • 13:28 - 13:30
    ไปใส่บัญชีสำรองเลี้ยงชีพ
  • 13:30 - 13:32
    นี่คือโครงการของเราครับ
  • 13:32 - 13:34
    เรียบง่ายอย่างน่าเขิน
  • 13:34 - 13:36
    แต่เราจะได้เห็นว่า
  • 13:36 - 13:38
    มีพลังมหาศาล
  • 13:38 - 13:40
    ครั้งแรกเราลงมือทำ
  • 13:40 - 13:42
    ริชาร์ด เธเลอร์ กับผม
  • 13:42 - 13:45
    ในปี 1998
  • 13:45 - 13:48
    ให้กับบริษัทขนาดกลาง ในภาคตะวันตกตอนกลาง
  • 13:48 - 13:50
    คนงานระดับล่าง
  • 13:50 - 13:52
    ดิ้นรนหมุนเดือนชนเดือน
  • 13:52 - 13:54
    พวกเขาย้ำกับเรานักหนาว่า
  • 13:54 - 13:57
    ออมเพิ่มทันทีไม่ได้เลย
  • 13:57 - 14:00
    ให้ออมเพิ่มวันนี้ไม่มีทาง
  • 14:00 - 14:02
    เราเชิญให้พวกเขา
  • 14:02 - 14:05
    ออมมากกว่าเดิม 3 เปอร์เซ็นต์
  • 14:05 - 14:08
    ทุกครั้งที่ได้ขึ้นเงินเดือน
  • 14:08 - 14:11
    และนี่คือผลลัพธ์ครับ
  • 14:11 - 14:13
    เรากำลังดูช่วงเวลาสามปีครึ่ง
  • 14:13 - 14:15
    ระหว่างนั้นขึ้นเงินเดือนสี่ครั้ง
  • 14:15 - 14:17
    คนที่ดิ้นรนอยากออม
  • 14:17 - 14:19
    กำลังออม 3 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน
  • 14:19 - 14:21
    ถัดมาสามปีครึ่ง
  • 14:21 - 14:24
    พวกเขาออมได้มากกว่าเดิมสี่เท่า
  • 14:24 - 14:27
    คือเกือบ 14 เปอร์เซ็นต์
  • 14:27 - 14:29
    มีรองเท้า จักรยาน
  • 14:29 - 14:31
    และของอื่นๆ ในชาร์ตนี้
  • 14:31 - 14:33
    เพราะผมไม่อยากใส่แค่ตัวเลข
  • 14:33 - 14:35
    ในสูญญากาศ
  • 14:35 - 14:38
    ผมอยากคิดถึงข้อเท็จจริง
  • 14:38 - 14:40
    ที่ว่าการออมมากขึ้นสี่เท่า
  • 14:40 - 14:42
    คือความเปลี่ยนแปลงมหาศาล
  • 14:42 - 14:44
    ในแง่ของวิถีชีวิต
  • 14:44 - 14:46
    ที่คนมีกำลังซื้อพอให้ใช้
  • 14:46 - 14:48
    เรื่องจริงครับ
  • 14:48 - 14:51
    ไม่ใช่แค่ตัวเลขบนกระดาษ
  • 14:51 - 14:53
    การออมสามเปอร์เซ็นต์
  • 14:53 - 14:55
    อาจทำให้คนซื้อรองเท้าผ้าใบ
  • 14:55 - 14:57
    ดีๆ คู่หนึ่งมาใช้
  • 14:57 - 15:01
    เพราะไม่มีกำลังซื้อของอย่างอื่น
  • 15:01 - 15:03
    แต่พอออมได้ 14 เปอร์เซ็นต์
  • 15:03 - 15:06
    พวกเขาอาจมีรองเท้าทำงาน
  • 15:06 - 15:09
    ใส่เดินไปขับรถ
  • 15:09 - 15:11
    นี่คือความแตกต่างที่แท้จริง
  • 15:11 - 15:16
    ตอนนี้บริษัทขนาดใหญ่ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์
  • 15:16 - 15:19
    มีโครงการทำนองนี้แล้ว
  • 15:19 - 15:22
    มันเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายคุ้มครองบำนาญ
  • 15:22 - 15:24
    ไม่ต้องพูดเลยว่า เธเลอร์กับผม
  • 15:24 - 15:27
    ได้รับพรศักสิทธิ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้
  • 15:27 - 15:29
    และสร้างการเปลี่ยนแปลง
  • 15:29 - 15:31
    ผมอยากจะจบ
  • 15:31 - 15:34
    ด้วยสองข้อความสำคัญครับ
  • 15:34 - 15:37
    ข้อแรกคือ การเงินเชิงพฤติกรรม
  • 15:37 - 15:40
    มีพลังมหาศาล
  • 15:40 - 15:43
    นี่เป็นแค่ตัวอย่างเดียวเท่านั้น
  • 15:43 - 15:45
    ข้อที่สองคือ
  • 15:45 - 15:47
    ยังมีงานอีกมากที่เราต้องทำ
  • 15:47 - 15:50
    นี่เป็นแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น
  • 15:50 - 15:53
    ถ้าคุณคิดถึงคนและสินเชื่อบ้าน
  • 15:53 - 15:56
    ซื้อบ้านมาแล้วก็ผ่อนไม่ได้
  • 15:56 - 15:58
    เราต้องคิดถึงเรื่องนี้
  • 15:58 - 16:01
    ถ้าคุณกำลังคิดเรื่องที่คนรับความเสี่ยงมากไป
  • 16:01 - 16:04
    แต่ไม่เข้าใจว่ากำลังรับความเสี่ยงขนาดไหน
  • 16:04 - 16:06
    หรือคนอื่นที่เสี่ยงน้อยเกินไป
  • 16:06 - 16:08
    เราต้องคิดถึงเรื่องนี้
  • 16:08 - 16:11
    ถ้าคุณคิดเรื่องคนที่ใช้เงินเป็นพันๆ เหรียญในแต่ละปี
  • 16:11 - 16:13
    ซื้อหวย
  • 16:13 - 16:15
    เราต้องคิดเรื่องนั้นด้วย
  • 16:15 - 16:17
    ที่จริงค่าเฉลี่ย
  • 16:17 - 16:19
    ของสถิติในสิงคโปร์
  • 16:19 - 16:21
    ครัวเรือนโดยเฉลี่ย
  • 16:21 - 16:24
    ใช้เงินซื้อหวย 4,000 เหรียญต่อปี
  • 16:24 - 16:26
    เรามีงานต้องทำอีกเยอะครับ
  • 16:26 - 16:28
    ปัญหาต้องแก้อีกมาก
  • 16:28 - 16:31
    ในเรื่องวัยเกษียณด้วย
  • 16:31 - 16:33
    ประเด็นว่าคนเราใช้เงินทำอะไร
  • 16:33 - 16:35
    หลังเกษียณ
  • 16:35 - 16:37
    คำถามสุดท้ายคือ
  • 16:37 - 16:40
    พวกคุณกี่คนรู้สึกพอใจว่า
  • 16:40 - 16:42
    ระหว่างที่วางแผนวัยเกษียณ
  • 16:42 - 16:45
    มีแผนการที่ดีจริงๆ
  • 16:45 - 16:47
    ว่าจะเกษียณเมื่อไหร่
  • 16:47 - 16:50
    จะขอรับเงินชดเชยจากประกันสังคมเมื่อไหร่
  • 16:50 - 16:52
    จะมีวิถีชีวิตยังไง
  • 16:52 - 16:54
    จะใช้เงินเท่าไหร่ต่อเดือน
  • 16:54 - 16:56
    เพื่อให้เงินไม่หมด?
  • 16:56 - 16:59
    มีกี่คนครับในนี้ ที่รู้สึกว่าวางแผนไว้ดีพอสำหรับอนาคต
  • 16:59 - 17:03
    เมื่อพูดถึงการใช้ชีวิตหลังเกษียณ
  • 17:04 - 17:07
    หนึ่ง สอง สาม สี่
  • 17:07 - 17:09
    ไม่ถึงสามเปอร์เซ็นต์
  • 17:09 - 17:11
    ในกลุ่มผู้ฟังที่ฉลาดมาก
  • 17:11 - 17:14
    หนทางของการเงินเชิงพฤติกรรมยังอีกไกลครับ
  • 17:14 - 17:16
    มีโอกาสมากมาย
  • 17:16 - 17:20
    ที่จะทำให้มันมีพลัง อีกครั้งและอีกครั้งและอีกครั้ง
  • 17:20 - 17:22
    ขอบคุณครับ
  • 17:22 - 17:24
    (เสียงปรบมือ)
Title:
ชโลโม เบนาร์ทซี: ออมสำหรับวันพรุ่ง วันพรุ่งนี้
Speaker:
Shlomo Benartzi
Description:

เป็นเรื่องง่ายที่เรานึกจะออมเงินในสัปดาห์หน้า แต่ถ้าให้ออมตอนนี้เลยล่ะ? โดยทั่วไปเรามักจะอยากใช้เงินมากกว่า นักเศรษฐศาสตร์ ชื่อ ชโลโม เบนาร์ทซี บอกว่านี่เป็นอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดประการหนึ่งของการมีเงินออมอย่างพอใช้ในวัยเกษียณ เขาถามว่า เราจะเปลี่ยนอุปสรรคเชิงพฤติกรรมนี้ให้เป็นการแก้ปัญหาเชิงพฤติกรรมได้อย่างไร?

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
17:24
Sarinee Achavanuntakul added a translation

Thai subtitles

Revisions