Return to Video

เคล็ดลับความจำที่ใครๆ ก็ทำได้

  • 0:00 - 0:05
    ผมอยากให้ทุกคนลองหลับตา
  • 0:05 - 0:08
    นึกภาพว่าคุณกำลังยืน
  • 0:08 - 0:11
    อยู่หน้าประตูบ้านของคุณเอง
  • 0:11 - 0:15
    ขอให้คุณสังเกตสีของประตู
  • 0:15 - 0:19
    สังเกตว่าประตูทำจากวัสดุอะไร
  • 0:19 - 0:26
    ทีนี้ลองนึกภาพคนอ้วนเปลือยกลุ่มหนึ่งกำลังขี่จักรยานอยู่
  • 0:26 - 0:29
    พวกเขากำลังแข่งขันปั่นจักรยานเปลือย
  • 0:29 - 0:32
    และกำลังมุ่งหน้าไปยังประตูบ้านของคุณ
  • 0:32 - 0:34
    ผมอยากให้คุณจินตนาการจนเห็นภาพนี้จริงๆ
  • 0:34 - 0:38
    พวกเขาปั่นด้วยความเร็วสูง เหงื่อโทรมกาย
  • 0:38 - 0:40
    กระเด้งกระดอนใหญ่เลย
  • 0:40 - 0:44
    แล้วในที่สุดก็ชนโครมเข้าที่ประตูบ้านคุณ
  • 0:44 - 0:48
    จักรยานกระเด็นเกลื่อนกลาด ล้อหลุดกลิ้งผ่านคุณไป
  • 0:48 - 0:52
    ซี่ล้อกระจายไปทั่ว
  • 0:52 - 0:55
    ทีนี้ลองก้าวข้ามธรณีประตูของคุณ
  • 0:55 - 0:58
    เข้าไปสู่ห้องโถง ทางเดิน หรืออะไรก็ตามที่อยู่อีกฟาก
  • 0:58 - 1:02
    ลองพิจารณาลำแสง
  • 1:02 - 1:08
    ที่สาดส่องมายังเจ้าตัวคุกกี้ มอนสเตอร์
  • 1:08 - 1:11
    คุกกี้ มอนสเตอร์โบกมือให้คุณ
  • 1:13 - 1:15
    จากบนหลังม้าสีแทนที่เขานั่งอยู่
  • 1:13 - 1:15
    มันเป็นม้าพูดได้
  • 1:15 - 1:20
    ขนสีฟ้าของเขาปลิวมาโดนจมูกของคุณจนรู้สึกจั๊กจี้
  • 1:20 - 1:24
    คุณได้กลิ่นคุกกี้ข้าวโอ๊ตกับลูกเกด
    ที่เขากำลังจะเขมือบเข้าปาก
  • 1:24 - 1:28
    เดินผ่านเขาไปทางห้องนั่งเล่นของคุณ
  • 1:28 - 1:31
    ในห้องนั่งเล่น ใช้จินตนาการให้เต็มที่
  • 1:31 - 1:34
    จนคุณเห็นบริตนี่ย์ สเปียส์
  • 1:34 - 1:39
    เธอนุ่งน้อยห่มน้อย กำลังเต้นอยู่บนโต๊ะกาแฟของคุณ
  • 1:39 - 1:42
    และร้องเพลง "Hit Me Baby One More Time"
  • 1:42 - 1:45
    ทีนี้ตามผมมาในครัวของคุณ
  • 1:45 - 1:49
    ในครัวของคุณ ตอนนี้มีถนนปูอิฐสีเหลืองพาดผ่าน
  • 1:49 - 1:53
    อะไรบางอย่างกำลังเดินออกจากเตาอบมาหาคุณ
  • 1:53 - 1:55
    โดโรธี มนุษย์สังกะสี
  • 1:55 - 1:57
    หุ่นไล่กา และสิงโตจากเรื่องพ่อมดออสซ์
  • 1:57 - 2:00
    กำลังจับมือกันกึ่งเดินกึ่งกระโดดตรงมาหาคุณ
  • 2:00 - 2:04
    โอเคครับ ลืมตาได้
  • 2:04 - 2:08
    ผมอยากเล่าให้คุณฟัง เรื่องการแข่งขันประหลาดๆ
  • 2:08 - 2:11
    ที่จัดขึ้นทุกฤดูใบไม้ผลิในเมืองนิวยอร์ก
  • 2:11 - 2:14
    งานนี้เรียกว่า การชิงแชมป์นักจำแห่งสหรัฐอเมริกา
    (United States Memory Championship)
  • 2:14 - 2:17
    ผมไปทำข่าวการแข่งขันนี้เมื่อสองสามปีก่อน
  • 2:17 - 2:19
    ในฐานะผู้สื่อข่าวสายวิทยาศาสตร์
  • 2:19 - 2:22
    โดยคาดหวังว่า งานนี้คงน่าตื่นเต้น
  • 2:22 - 2:25
    เหมือนการแข่งซุเปอร์โบวล์ของนักปราชญ์ขั้นเทพ
  • 2:25 - 2:28
    ปรากฏว่า คนเหล่านี้ คือผู้ชายกลุ่มใหญ่ กับผู้หญิงไม่กี่คน
  • 2:28 - 2:33
    ที่มีความหลากหลายสูงมาก
    ทั้งเรื่องอายุ และระดับการรักษาสุขอนามัย
  • 2:33 - 2:35
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:35 - 2:39
    พวกเขาจำตัวเลขสุ่มนับร้อยๆ ตัว
  • 2:39 - 2:41
    หลังจากมองดูแค่ครั้งเดียว
  • 2:41 - 2:45
    พวกเขาจำชื่อคนแปลกหน้าจำนวนไม่รู้กี่โหลต่อกี่โหล
  • 2:45 - 2:49
    จำบทกวีทั้งบทภายในสองสามนาที
  • 2:49 - 2:51
    พวกเขาแข่งกันเพื่อดูว่าใครจะสามารถ
  • 2:51 - 2:55
    จำลำดับของไพ่ในกองที่สับแล้วได้เร็วที่สุด
  • 2:55 - 2:57
    ผมแบบ... โอ้ นี่มันเหลือเชื่อ
  • 2:57 - 3:00
    คนพวกนี้ต้องเป็นมนุษย์ประหลาดแน่ๆ
  • 3:00 - 3:03
    แล้วผมก็เริ่มคุยกับผู้เข้าแข่งขันสองสามคน
  • 3:03 - 3:05
    ชายคนนี้ชื่อเอ็ด คุก
  • 3:05 - 3:06
    มาจากอังกฤษ
  • 3:06 - 3:08
    เขาเป็นหนึ่งในคนที่ฝึกฝนความจำมาดีที่สุด
  • 3:08 - 3:12
    ผมถามเขาว่า "เอ็ด คุณรู้ตัวเมื่อไหร่
  • 3:12 - 3:15
    ว่าคุณเป็นนักปราชญ์ขั้นเทพ?"
  • 3:15 - 3:17
    เอ็ดตอบมาว่า "ผมไม่ใช่นักปราชญ์ขั้นเทพ
  • 3:17 - 3:20
    ที่จริงผมมีความจำดีปานกลางเท่านั้นแหละ
  • 3:20 - 3:22
    ทุกคนที่มาแข่งในงานนี้
  • 3:22 - 3:25
    จะพูดเหมือนกันหมด ว่าเขาความจำดีปานกลาง
  • 3:25 - 3:27
    แต่เราทุกคนล้วนฝึกฝนตัวเอง
  • 3:27 - 3:31
    ให้สามารถจำได้ดีอย่างน่าอัศจรรย์
  • 3:31 - 3:33
    โดยใช้เทคนิคโบราณ
  • 3:33 - 3:37
    ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาในประเทศกรีซเมื่อ 2,500 ปีก่อน
  • 3:37 - 3:40
    เทคนิคเดียวกับที่ซิเซโรใช้
  • 3:40 - 3:42
    ในการจดจำปาฐกถาที่เขาจะพูด
  • 3:42 - 3:46
    และที่นักวิชาการในยุคกลาง
    ใช้เพื่อช่วยจำหนังสือทั้งเล่ม
  • 3:46 - 3:49
    ผมได้ฟังก็แบบ "โว้ว ทำไมผมไม่เคยได้ยิน
    เรื่องนี้มาก่อนเลยเนี่ย?"
  • 3:49 - 3:52
    แล้วเราก็ออกมายืนกันหน้าหอประชุมที่ใช้จัดการแข่งขัน
  • 3:52 - 3:56
    แล้วเอ็ด ชายนิสัยดี ฉลาดหลักแหลม
  • 3:56 - 3:59
    แต่ท่าทางประหลาด จากประเทศอังกฤษ
  • 3:59 - 4:03
    พูดกับผมว่า "โจช คุณเป็นนักข่าวอเมริกัน
  • 4:03 - 4:05
    คุณสนิทกับบริตนีย์ สเปียส์ไหม?"
  • 4:05 - 4:10
    ผมแบบ "อะไรนะ? ไม่อ่ะ ทำไมเหรอ?"
  • 4:10 - 4:13
    "เพราะผมอยากจะสอนบริตนีย์ สเปียส์
  • 4:13 - 4:16
    ให้จำลำดับของไพ่ในกองที่สับแล้ว
  • 4:16 - 4:18
    ออกโทรทัศน์ในอเมริกา
  • 4:18 - 4:21
    เพื่อพิสูจน์ให้โลกเห็นว่าใครๆ ก็ทำอย่างนี้ได้"
  • 4:21 - 4:26
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:26 - 4:29
    ผมเลยบอกว่า "เอ่อ ผมไม่ใช่บริตนีย์ สเปียส์
  • 4:29 - 4:32
    แต่คุณจะลองสอนผมดูก็ได้นะ
  • 4:32 - 4:35
    คือ คุณต้องลองกับใครสักคนก่อน ใช่ไหมล่ะ?"
  • 4:35 - 4:38
    และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการเดินทาง
    ที่แสนประหลาดของผม
  • 4:38 - 4:41
    กลายเป็นว่า ผมใช้เวลาส่วนใหญ่ในปีถัดมา
  • 4:41 - 4:43
    ไม่เพียงแต่ฝึกฝนความจำของผม
  • 4:43 - 4:45
    แต่ยังศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความจำ
  • 4:45 - 4:47
    เพื่อพยายามเข้าใจว่ามันทำงานอย่างไร
  • 4:47 - 4:50
    ทำไมบางครั้งมันจึงทำงานได้ไม่ดี
  • 4:50 - 4:52
    และมันมีศักยภาพแค่ไหน
  • 4:52 - 4:54
    ผมพบคนที่น่าสนใจสุดๆ มากมาย
  • 4:54 - 4:56
    ผู้ชายคนนี้ชื่อว่า อี.พี.
  • 4:56 - 4:59
    เขาเป็นโรคความจำเสื่อม
  • 4:59 - 5:01
    และน่าจะเป็นคนที่ความแย่ที่สุดในโลก
  • 5:01 - 5:03
    ความจำของเขาแย่มาก
  • 5:03 - 5:06
    ถึงขั้นที่เขาจำไม่ได้ว่าเขามีปัญหาเรื่องความจำ
  • 5:06 - 5:08
    ซึ่งน่าทึ่งมาก
  • 5:08 - 5:09
    ชีวิตของเขาน่าเศร้าอย่างเหลือเชื่อ
  • 5:09 - 5:11
    แต่เขาก็เป็นหน้าต่างที่ทำให้เราเห็น
  • 5:11 - 5:15
    ว่าความทรงจำสำคัญกับความเป็นตัวตนของเราแค่ไหน
  • 5:15 - 5:18
    ในขั้วตรงกันข้าม ผมพบผู้ชายคนนี้
  • 5:18 - 5:20
    นี่คือคิม พีค (Kim Peek)
  • 5:20 - 5:23
    เขาคือที่มาของตัวละครที่รับบท
    โดยดัสติน ฮอฟแมนในเรื่อง Rain Man
  • 5:23 - 5:26
    บ่ายวันหนึ่ง
    เรานั่งจำชื่อในสมุดโทรศัพท์อยู่ด้วยกัน
  • 5:26 - 5:30
    ที่ห้องสมุดสาธารณะ เมืองซอลท์ เลค ซิตี้
  • 5:30 - 5:33
    สนุกมากเลยนะ
  • 5:33 - 5:36
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:36 - 5:39
    แล้วผมก็ย้อนไปอ่านหนังสือโบราณต่างๆ
    เกี่ยวกับความทรงจำ
  • 5:39 - 5:43
    หนังสือพวกนี้เขียนขึ้นมานานกว่า 2,000 ปีที่แล้ว
  • 5:43 - 5:45
    ในภาษาละติน ตั้งแต่ยุคโบราณ
  • 5:45 - 5:47
    และต่อมาในยุคกลาง
  • 5:47 - 5:50
    ผมได้เรียนรู้อะไรๆ ที่น่าสนใจมากมาย
  • 5:50 - 5:53
    เรื่องน่าสนใจเรื่องหนึ่งที่ผมได้รู้คือ
  • 5:53 - 5:56
    สมัยก่อนนี้
  • 5:56 - 6:01
    การมีความจำที่ได้รับการฝึกฝน ขัดเกลา และปลูกฝังอย่างดี
  • 6:01 - 6:06
    ไม่ใช่เรื่องแปลกอย่างที่ทุกวันนี้เรารู้สึกกัน
  • 6:06 - 6:11
    สมัยก่อน คนเราทุ่มเทฝึกฝนความจำ
  • 6:11 - 6:16
    เพียรพยายามพัฒนาจิตของตน
  • 6:16 - 6:18
    ไม่กี่พันปีมานี้เอง
  • 6:18 - 6:21
    ที่เราเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีหลากหลาย
  • 6:21 - 6:23
    ตั้งแต่ตัวอักษรไปถึงม้วนกระดาษ
  • 6:23 - 6:26
    หนังสือที่เขียนด้วยลายมือ แท่นพิมพ์ ภาพถ่าย
  • 6:26 - 6:28
    คอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน
  • 6:28 - 6:31
    ซึ่งทำให้มันง่ายขึ้นเรื่อยๆ
  • 6:31 - 6:33
    ที่จะเก็บความจำไว้นอกสมอง
  • 6:33 - 6:35
    และยกสิ่งที่เป็นความสามารถ
  • 6:35 - 6:39
    ขั้นพื้นฐานของมนุษย์ข้อนี้
    ให้เทคโนโลยีทำแทน
  • 6:39 - 6:43
    เทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้โลกสมัยใหม่เกิดขึ้นได้
  • 6:43 - 6:44
    แต่มันก็เปลี่ยนแปลงเราไปด้วย
  • 6:44 - 6:46
    มันเปลี่ยนเราในแง่วัฒนธรรม
  • 6:46 - 6:50
    และผมว่า มันเปลี่ยนกระบวนการคิดเราด้วย
  • 6:50 - 6:52
    เมื่อเราไม่จำเป็นต้องจำอะไรมากมายนัก
  • 6:52 - 6:55
    บางทีก็ดูเหมือนเราลืมวิธีจำไป
  • 6:55 - 6:57
    ที่สุดท้ายบนโลกนี้
  • 6:57 - 7:00
    ที่คุณจะยังได้เห็นคนที่หลงใหล
  • 7:00 - 7:04
    เรื่องการฝึกฝน ขัดเกลา และปลูกฝังความจำ
  • 7:04 - 7:06
    ก็คือที่การแข่งขันความจำนี่แหละ
  • 7:06 - 7:08
    ที่จริงงานนี้ไม่ใช่งานเดียว
  • 7:08 - 7:10
    มีการแข่งขันแบบนี้อยู่ทั่วโลก
  • 7:10 - 7:14
    ผมทึ่งกับคนพวกนี้ และอยากรู้ว่าเขาทำได้อย่างไร
  • 7:14 - 7:19
    สองสามปีที่แล้ว นักวิจัยกลุ่มหนึ่งที่
    University College กรุงลอนดอน
  • 7:19 - 7:22
    พาแชมป์ความจำหลายคนมาที่แล็บ
  • 7:22 - 7:23
    พวกเราอยากรู้ว่า
  • 7:23 - 7:24
    สมองของคนพวกนี้แตกต่าง
  • 7:24 - 7:29
    จากคนทั่วไปอย่างเราๆ
    ในแง่โครงสร้างหรือกายวิภาคหรือเปล่า?
  • 7:29 - 7:32
    คำตอบคือ ไม่
  • 7:32 - 7:35
    คนพวกนี้ฉลาดกว่าพวกเราหรือเปล่า?
  • 7:35 - 7:37
    นักวิจัยให้พวกเขาทำแบบทดสอบทางปัญญามากมาย
  • 7:37 - 7:39
    คำตอบคือ ก็ไม่ได้ฉลาดไปกว่ากันเท่าไหร่
  • 7:39 - 7:42
    แต่มีความแตกต่างอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ
    และบอกอะไรเราได้เยอะมาก
  • 7:42 - 7:44
    นั่นคือ ความแตกต่างในสมองของแชมป์นักจำ
  • 7:44 - 7:47
    กับกลุ่มควบคุมที่นำมาเปรียบเทียบ
  • 7:47 - 7:50
    เมื่อนำคนสองกลุ่มนี้ไปเข้าเครื่อง fMRI
  • 7:50 - 7:52
    สแกนสมองด้วยคลื่นแม่เหล็ก
  • 7:52 - 7:57
    ขณะที่พวกเขาจดจำตัวเลข ใบหน้าคน และรูปผลึกหิมะ
  • 7:57 - 7:59
    นักวิจัยพบว่า สมองของแชมป์นักจำ
  • 7:59 - 8:01
    มีการทำงานในจุดที่แตกต่าง
  • 8:01 - 8:03
    จากคนทั่วไป
  • 8:03 - 8:07
    ดูเหมือนว่าแชมป์นักจำจะใช้สมอง
  • 8:07 - 8:11
    ส่วนที่ใช้ในการจำภาพพื้นที่และการนำทาง
  • 8:11 - 8:17
    ทำไมล่ะ? แล้วเราจะเรียนรู้อะไรจากข้อค้นพบนี้ได้ไหม?
  • 8:17 - 8:21
    การแข่งขันชิงแชมป์ความจำนั้น
  • 8:21 - 8:24
    ก็เหมือนการแข่งขันสร้างและสะสมอาวุธ
  • 8:24 - 8:27
    ทุกๆ ปี ใครคนหนึ่งจะคิดค้นวิธีใหม่
  • 8:27 - 8:30
    เพื่อให้จำได้มากขึ้นและเร็วขึ้น
  • 8:30 - 8:32
    แล้วคนอื่นที่เหลือก็ต้องพยายามตีตื้น
  • 8:32 - 8:34
    นี่คือเพื่อนของผม ชื่อ เบน พริดมอร์
  • 8:34 - 8:35
    นักจำแชมป์โลกสามสมัย
  • 8:35 - 8:37
    บนโต๊ะตรงหน้าเขา
  • 8:37 - 8:41
    มีไพ่ที่สับแล้ว 36 สำรับ
  • 8:41 - 8:44
    ที่เขาต้องพยายามจำให้ได้ภายในหนึ่งชั่วโมง
  • 8:44 - 8:48
    โดยใช้เทคนิคที่เขาคิดค้นขึ้นและฝึกฝนจนชำนาญ
  • 8:48 - 8:50
    เขาใช้เทคนิคคล้ายกันนี้
  • 8:50 - 8:52
    จำลำดับที่ถูกต้องทั้งหมด
  • 8:52 - 8:58
    ของตัวเลขฐานสองที่สุ่มขึ้นมา 4,140 ตัว
  • 8:58 - 9:01
    ภายในครึ่งชั่วโมง
  • 9:01 - 9:03
    ใช่ครับ
  • 9:03 - 9:06
    และแม้จะมีวิธีแตกต่างหลากหลาย
  • 9:06 - 9:10
    ในการจำสิ่งต่างๆ ในการแข่งขันนี้
  • 9:10 - 9:13
    ทุกอย่าง ทุกเทคนิคที่ใช้กัน
  • 9:13 - 9:16
    ที่สุดแล้วก็มาจากแนวคิด
  • 9:16 - 9:19
    ที่นักจิตวิทยาเรียกว่า การเข้ารหัสอย่างละเอียดลึกซึ้ง
  • 9:19 - 9:22
    ซึ่งอธิบายได้ด้วยตัวอย่างเก๋ๆ
  • 9:22 - 9:24
    ที่เรียกว่า ปฏิทรรศน์ เรื่อง Baker กับ baker
  • 9:24 - 9:25
    มันเป็นอย่างนี้ครับ
  • 9:25 - 9:28
    ถ้าผมบอกให้คนสองคนจำคำคำเดียวกัน
  • 9:28 - 9:30
    ผมบอกคุณว่า
  • 9:30 - 9:34
    "ให้จำว่ามีผู้ชายคนหนึ่งชื่อ เบเกอร์ (Baker)"
  • 9:34 - 9:35
    นั่นคือชื่อเขา
  • 9:35 - 9:41
    แล้วผมบอกคุณว่า "ให้จำว่ามีผู้ชายคนหนึ่ง
    มีอาชีพเป็น เบเกอร์ (baker) หรือ คนทำขนมปัง"
  • 9:41 - 9:44
    เมื่อเวลาผ่านไป ผมกลับมาถามคุณใหม่
  • 9:44 - 9:47
    ผมถามว่า "คุณจำคำนั้นได้ไหม
  • 9:47 - 9:48
    ที่ผมบอกคุณสักพักก่อนหน้านี้?
  • 9:48 - 9:50
    คุณจำได้ไหมว่าคำนั้นคืออะไร?"
  • 9:50 - 9:54
    คนที่ผมบอกว่า ผู้ชายคนนี้ชื่อเบเกอร์ (Baker)
  • 9:54 - 9:56
    จำคำว่าเบเกอร์ (Baker) ไม่ค่อยได้
  • 9:56 - 10:00
    เมื่อเทียบกับคนที่ผมบอกว่า
    เขาทำงานเป็นเบเกอร์ (baker) หรือคนทำขนมปัง
  • 10:00 - 10:03
    คำคำเดียวกัน แต่คนจำได้มากน้อยต่างกัน แปลกไหมครับ
  • 10:03 - 10:05
    มันเกิดอะไรขึ้น?
  • 10:05 - 10:10
    นั่นเพราะชื่อเบเกอร์ (Baker)
    ไม่ได้มีความหมายอะไรกับคุณ
  • 10:10 - 10:12
    มันไม่ได้เชื่อมโยง
  • 10:12 - 10:15
    กับความทรงจำอื่นใดในหัวคุณเลย
  • 10:15 - 10:17
    แต่สามัญนาม คำว่าเบเกอร์ (baker)
  • 10:17 - 10:19
    เรารู้ว่ามันหมายถึงคนทำขนมปัง
  • 10:19 - 10:21
    ที่ใส่หมวกตลกๆ สีขาว
  • 10:21 - 10:23
    มีแป้งเลอะมือ
  • 10:23 - 10:25
    มีกลิ่นขนมอบหอมๆ ติดตัวมาเวลากลับบ้าน
  • 10:25 - 10:27
    หรือเราอาจจะรู้จักคนทำขนมปังสักคน
  • 10:27 - 10:28
    และเมื่อเราได้ยินคำนี้ครั้งแรก
  • 10:28 - 10:31
    เราก็สร้างความเชื่อมโยงเหล่านี้ขึ้น
  • 10:31 - 10:35
    ซึ่งทำให้ในวันหน้าเราดึงความจำเรื่องนี้ขึ้นมาได้ง่ายกว่า
  • 10:35 - 10:38
    ศาสตร์และศิลป์ของสิ่งที่เกิดขึ้น
  • 10:38 - 10:40
    ในการแข่งขันชิงแชมป์นักจำ
  • 10:40 - 10:44
    และการจำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
  • 10:44 - 10:48
    ก็คือการหาทางแปรรูปคำว่าเบเกอร์ (Baker) ที่เป็นชื่อคน
  • 10:48 - 10:50
    ให้เป็นเบเกอร์ (baker) ที่แปลว่าคนทำขนมปัง
  • 10:50 - 10:53
    เพื่อนำข้อมูลที่ขาดบริบท
  • 10:53 - 10:55
    ความสำคัญ หรือความหมาย
  • 10:55 - 10:57
    แล้วแปรรูปในทางใดทางหนึ่ง
  • 10:57 - 10:59
    ให้มันมีความหมายขึ้นมา
  • 10:59 - 11:04
    ในบริบทของสิ่งอื่นที่คุณมีอยู่ในหัว
  • 11:04 - 11:07
    หนึ่งในเทคนิคอันปราณีตสำหรับช่วยจำนี้
  • 11:07 - 11:11
    มีอายุราว 2,500 ปี ย้อนไปในสมัยกรีกโบราณ
  • 11:11 - 11:13
    โดยมีชื่อเรียกว่า วังแห่งความจำ
  • 11:13 - 11:17
    มีเรื่องเล่าถึงที่มาของเทคนิคนี้ว่า
  • 11:17 - 11:20
    กวีคนหนึ่ง ชื่อไซโมนิดิส
  • 11:20 - 11:22
    ได้ไปงานเลี้ยงงานหนึ่ง
  • 11:22 - 11:24
    เราถูกว่าจ้างให้ไปขับกล่อมแขกผู้มีเกียรติ
  • 11:24 - 11:27
    เพราะสมัยก่อน ถ้าคุณอยากจัดปาร์ตี้มันส์สุดเหวี่ยง
  • 11:27 - 11:30
    คุณไม่จ้างดีเจหรอก คุณต้องจ้างกวี
  • 11:30 - 11:35
    ไซโมนิดิสยืนขึ้น ร่ายบทกวีปากเปล่าจากความจำ
    เสร็จแล้วก็เดินออกไปจากประตู
  • 11:35 - 11:40
    ทันใดนั้น ห้องโถงที่จัดงานเลี้ยงก็ถล่มลงมา
  • 11:40 - 11:43
    ทุกคนในงานเสียชีวิตหมด
  • 11:43 - 11:45
    ซากปรักหักพังไม่เพียงคร่าชีวิตทุกคนเท่านั้น
  • 11:45 - 11:49
    แต่ยังทำลายศพจนเละเกินกว่าจะจำได้ว่าใครเป็นใคร
  • 11:49 - 11:52
    ไม่มีใครบอกได้ ว่ามีใครอยู่ในนั้นบ้าง
  • 11:52 - 11:55
    ไม่มีใครบอกได้ว่าใครนั่งอยู่ตรงไหน
  • 11:55 - 11:57
    ญาติก็ไม่สามารถนำศพไปฝังให้เรียบร้อยได้
  • 11:57 - 12:01
    เป็นโศกนาฏกรรมซ้ำซ้อนจริงๆ
  • 12:01 - 12:04
    ไซโมนิดิสยืนอยู่ข้างนอก
  • 12:04 - 12:06
    เป็นผู้รอดชีวิตคนเดียว ท่ามกลางซากปรักหักพัง
  • 12:06 - 12:09
    เขาหลับตาลง แล้วก็ตระหนักว่า
  • 12:09 - 12:12
    ภาพในความทรงจำของเขา
  • 12:12 - 12:17
    มองเห็นว่าแขกแต่ละคนนั่งอยู่ตรงไหนในงานเลี้ยง
  • 12:17 - 12:19
    แล้วเขาก็จูงมือญาติของผู้เสียชีวิต
  • 12:19 - 12:23
    พาไปหาศพของคนที่เขารัก ท่ามกลางซากปรักหักพัง
  • 12:23 - 12:27
    สิ่งที่ไซโมนิดิสค้นพบในขณะนั้น
  • 12:27 - 12:30
    คือสิ่งที่ผมคิดว่าเราล้วนรู้อยู่ลึกๆ ในใจอยู่แล้ว
  • 12:30 - 12:32
    นั่นคือ แม้ว่าเราจะความจำแย่
  • 12:32 - 12:35
    เมื่อให้จำชื่อคนและหมายเลขโทรศัพท์
  • 12:35 - 12:38
    และคำอธิบายวิธีการต่างๆ จากเพื่อนร่วมงานให้ครบถ้วน
  • 12:38 - 12:44
    แต่เรามีความจำด้านภาพและสถานที่ที่ยอดเยี่ยมมาก
  • 12:44 - 12:47
    ถ้าผมให้คุณนึกถึงคำ 10 คำแรก
  • 12:47 - 12:50
    ในเรื่องไซโมนิดิสที่ผมเพิ่งเล่าไป
  • 12:50 - 12:52
    คุณคงนึกไม่ค่อยออกหรอก
  • 12:52 - 12:54
    แต่ผมพนันได้เลยว่า
  • 12:54 - 12:57
    ถ้าผมให้คุณนึก
  • 12:57 - 13:02
    ว่าใครกำลังนั่งอยู่บนหลังม้าสีแทน
  • 13:02 - 13:04
    ในห้องโถงที่บ้านคุณ
  • 13:04 - 13:06
    คุณจะมองเห็นภาพทันที
  • 13:06 - 13:08
    หลักการเบื้องหลังเทคนิควังแห่งความจำ
  • 13:08 - 13:13
    ก็คือการจินตนาการภาพอาคารแห่งหนึ่งไว้ในใจ
  • 13:13 - 13:15
    แล้วเอาภาพต่างๆ
  • 13:15 - 13:17
    ของสิ่งที่คุณต้องการจำใส่เข้าไป
  • 13:17 - 13:20
    ยิ่งเป็นภาพที่บ้าบอ แปลก ประหลาด
  • 13:20 - 13:24
    ตลก เซ็กซี่ มีกลิ่นฉุนเฉียวมากเท่าไหร่
  • 13:24 - 13:27
    มันก็ยิ่งลืมไม่ลงมากเท่านั้น
  • 13:27 - 13:30
    คำแนะนำนี้มีมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว
  • 13:30 - 13:33
    ย้อนไปถึงหนังสือโบราณภาษาละตินที่ว่าด้วยความจำ
  • 13:33 - 13:34
    เอาล่ะ แล้วเทคนิคนี้มันทำงานอย่างไร?
  • 13:34 - 13:37
    สมมติว่าคุณได้รับเชิญ
  • 13:37 - 13:41
    ให้มายืนบนเวที TED แห่งนี้เพื่อกล่าวปาฐกถา
  • 13:41 - 13:43
    คุณอยากพูดจากความจำของคุณ ไม่ใช่โพย
  • 13:43 - 13:48
    และจะพูดอย่างที่ซิเซโรน่าจะทำ
  • 13:48 - 13:53
    ถ้าเขาได้รับเชิญไปพูดที่ TEDx Rome เมื่อ 2,000 ปีก่อน
  • 13:53 - 13:55
    สิ่งที่คุณอาจจะทำ
  • 13:55 - 14:00
    คือจินตนาการตัวคุณเองอยู่ที่ประตูหน้าบ้านของคุณ
  • 14:00 - 14:02
    แล้วนึกถึงภาพอะไรที่
  • 14:02 - 14:06
    บ้าสุดๆ ตลกสุดๆ หรือจำได้ติดตาไม่ลืม
  • 14:06 - 14:09
    เพื่อใช้เตือนให้คุณจำได้ว่า สิ่งแรกที่คุณอยากพูดถึง
  • 14:09 - 14:12
    คือการแข่งขันที่แปลกประหลาดสุดๆ
  • 14:12 - 14:15
    แล้วคุณก็เดินเข้าไปในบ้าน
  • 14:15 - 14:17
    เห็นเจ้าปีศาจคุกกี้ มอนสเตอร์
  • 14:17 - 14:19
    อยู่บนหลังม้าชื่อมิสเตอร์ เอ็ด
  • 14:19 - 14:21
    เพื่อเตือนให้คุณจำได้
  • 14:21 - 14:24
    ว่าคุณอยากพูดถึงเพื่อนของคุณชื่อเอ็ด คุก
  • 14:24 - 14:26
    แล้วคุณก็เห็นภาพบริทนีย์ สเปียร์ส
  • 14:26 - 14:29
    ที่ทำให้คุณจำตัวอย่างขำๆ ที่คุณอยากเล่าได้
  • 14:29 - 14:31
    คุณเดินเข้าไปในครัว
  • 14:31 - 14:33
    และหัวข้อที่สี่ที่คุณจะพูดคือ
  • 14:33 - 14:36
    การเดินทางที่แปลกประหลาดที่คุณผ่านมาเป็นเวลาหนึ่งปี
  • 14:36 - 14:41
    โดยมีเพื่อนๆ ของคุณคอยช่วยให้คุณจำสิ่งเหล่านี้ได้
  • 14:41 - 14:45
    นี่คือวิธีที่นักพูดชาวโรมันจดจำปาฐกถาของเขา
  • 14:45 - 14:48
    ไม่ใช่จำคำต่อคำ ซึ่งจะทำให้คุณสับสน
  • 14:48 - 14:51
    แต่จำใจความสำคัญเป็นรายหัวข้อ (topic)
  • 14:51 - 14:54
    ที่จริง คำว่า ประโยคใจความสำคัญ (Topic sentence)
  • 14:54 - 14:57
    นั้นมาจากรากศัพท์ภาษากรีกว่า "topos"
  • 14:57 - 14:59
    ซึ่งแปลว่า สถานที่
  • 14:59 - 15:00
    นั่นเป็นเบาะแสที่ชี้ว่า
  • 15:00 - 15:02
    เมื่อก่อนคนเราคิดถึงสุนทรพจน์และวาทศิลป์
  • 15:02 - 15:05
    โดยใช้ถ้อยคำที่เกี่ยวกับสถานที่
  • 15:05 - 15:07
    วลีที่ว่า "in the first place" ที่แปลว่า ตั้งแต่แรก
  • 15:07 - 15:10
    ก็หมายถึงจุดแรกในวังแห่งความจำของเรา
  • 15:10 - 15:12
    ผมคิดว่าเรื่องนี้น่าสนใจมาก
  • 15:12 - 15:14
    และผมก็หลงใหลเรื่องนี้มาก
  • 15:14 - 15:17
    ผมไปงานแข่งขันความจำแบบนี้อีกสองสามที่
  • 15:17 - 15:19
    แล้วก็เกิดความคิดว่าผมน่าจะเขียนบทความ
    ที่ยาวกว่าเดิม
  • 15:19 - 15:23
    เกี่ยวกับวัฒนธรรมกลุ่มย่อย
    ของนักแข่งขันชิงแชมป์ความจำ
  • 15:23 - 15:25
    แต่มันมีปัญหาอยู่อย่างหนึ่ง
  • 15:25 - 15:27
    นั่นคือ การแข่งขันความจำ
  • 15:27 - 15:31
    เป็นการแข่งขันที่น่าเบื่ออย่างแสนสาหัส
  • 15:31 - 15:34
    (เสียงหัวเราะ)
  • 15:34 - 15:38
    จริงๆ นะครับ มันเหมือนกับเอาคนจำนวนมาก
    มานั่งทำข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย
  • 15:38 - 15:40
    คือ เหตุการณ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจสุดๆ แล้ว ก็คือ
  • 15:40 - 15:41
    ตอนที่ใครสักคนเริ่มนวดขมับของเขา แค่นั้นแหละ
  • 15:41 - 15:44
    แล้วผมเป็นนักข่าวนะ ผมต้องการเรื่องไปเขียนข่าว
  • 15:44 - 15:48
    ผมรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นเยอะแยะเหลือเชื่อ
    ในหัวของคนเหล่านี้
  • 15:48 - 15:50
    แต่ผมไม่สามารถเข้าถึงมันได้
  • 15:50 - 15:53
    ผมจึงนึกขึ้นมาได้ว่า ถ้าผมจะเล่าเรื่องนี้
  • 15:53 - 15:56
    ผมต้องลองสวมบทบาทเป็นคนเหล่านี้สักหน่อย
  • 15:56 - 15:59
    ผมก็เลยเริ่มใช้เวลา 15 ถึง 20 นาที ทุกๆ เช้า
  • 15:59 - 16:02
    ก่อนจะนั่งลงทำงานที่หนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์
  • 16:02 - 16:05
    พยายามจำอะไรสักอย่าง
  • 16:05 - 16:06
    อาจจะเป็นบทกวี
  • 16:06 - 16:08
    ชื่อคนจากหนังสือรุ่นเก่าๆ
  • 16:08 - 16:11
    ที่ผมซื้อมาจากตลาดขายของมือสอง
  • 16:11 - 16:16
    แล้วผมก็พบว่ามันสนุกอย่างไม่น่าเชื่อ
  • 16:16 - 16:18
    ผมไม่เคยคาดคิดมาก่อนเลย
  • 16:18 - 16:22
    มันสนุกเพราะจริงๆ มันไม่ใช่การฝึกความจำหรอก
  • 16:22 - 16:25
    แต่เป็นการพยายามพัฒนาความสามารถ
  • 16:25 - 16:27
    ในการสร้างสรรค์ จินตนาการ
  • 16:27 - 16:30
    ภาพที่น่าขำ เซ็กซี่ ตลก
  • 16:30 - 16:34
    และจำได้ไม่ลืมในใจของคุณ
  • 16:34 - 16:36
    และผมก็สนุกไปกับมันมาก
  • 16:36 - 16:42
    นี่คือภาพผมในชุดมาตรฐาน
    สำหรับฝึกความจำสำหรับแข่งขัน
  • 16:42 - 16:44
    นั่นคือที่อุดหูคู่หนึ่ง
  • 16:44 - 16:48
    และแว่นตานิรภัยที่พ่นสีดำทั้งหมด
  • 16:48 - 16:50
    เหลือแค่รูเล็กๆ สองรู
  • 16:50 - 16:56
    เพราะสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจเป็นศัตรูสำคัญ
    ของนักแข่งขันชิงแชมป์ความจำ
  • 16:56 - 17:01
    ในที่สุด ผมก็กลับไปที่การแข่งขันที่ผมเขียนถึงเมื่อปีก่อน
  • 17:01 - 17:03
    และคิดว่าจะลงแข่งดู
  • 17:03 - 17:07
    เพื่อทดลองทำข่าวแบบมีส่วนร่วม
  • 17:07 - 17:11
    ผมหวังว่า มันน่าจะเป็นบทส่งท้ายเจ๋งๆ
    ให้งานวิจัยของผมครั้งนี้
  • 17:11 - 17:15
    ปัญหาคือ การทดลองมันเลยเถิดไปไกล
  • 17:15 - 17:18
    คือ ผมชนะการแข่งขัน
  • 17:18 - 17:21
    ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น
  • 17:21 - 17:27
    (เสียงปรบมือ)
  • 17:27 - 17:28
    เอาล่ะ มันก็ดีนะครับ
  • 17:28 - 17:31
    การที่เราสามารถจดจำปาฐกถา
  • 17:31 - 17:34
    เบอร์โทรศัพท์ และรายการจ่ายตลาด
  • 17:34 - 17:37
    แต่สิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่สาระสำคัญ
  • 17:37 - 17:39
    มันเป็นแค่เทคนิค
  • 17:39 - 17:41
    หรือลูกเล่นพิเศษที่ได้ผล
  • 17:41 - 17:45
    เพราะมันตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐาน
  • 17:45 - 17:46
    ของการทำงานของสมอง
  • 17:46 - 17:50
    คุณไม่ต้องสร้างวังแห่งความจำ
  • 17:50 - 17:52
    หรือจำไพ่ทั้งสำรับ
  • 17:52 - 17:54
    เพื่อใช้ประโยชน์จากความเข้าใจ
  • 17:54 - 17:57
    ว่าจิตใจของคุณทำงานอย่างไร
  • 17:57 - 17:59
    เรามักพูดถึงคนที่ความจำเป็นเลิศ
  • 17:59 - 18:01
    ราวกับว่ามันเป็นพรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่เกิด
  • 18:01 - 18:03
    แต่มันไม่ใช่เลย
  • 18:03 - 18:07
    ความจำที่เป็นเลิศนั้นมาจากการเรียนรู้
  • 18:07 - 18:10
    ในระดับพื้นฐานที่สุด เราจะจำอะไรได้เมื่อเราใส่ใจ
  • 18:10 - 18:13
    เราจำได้เมื่อเราเอาใจใส่อย่างลึกซึ้ง
  • 18:13 - 18:15
    เราจำได้เมื่อเราสามารถ
  • 18:15 - 18:18
    นำข้อมูลและประสบการณ์ที่มี
  • 18:18 - 18:20
    มาพิจารณาว่ามันมีความหมายกับเราอย่างไร
  • 18:20 - 18:22
    ทำไมมันจึงสำคัญ ทำไมมันจึงมีสีสันน่าสนใจ
  • 18:22 - 18:25
    เมื่อเราสามารถแปรรูปมัน
  • 18:25 - 18:27
    ให้มีความหมายขึ้นมา
  • 18:27 - 18:29
    ในบริบทของสิ่งอื่นๆ ที่ล่องลอยอยู่ในหัวของเรา
  • 18:29 - 18:34
    เมื่อเราสามารถเปลี่ยนคนชื่อ Bakers
    ให้เป็น bakers ที่แปลว่าคนทำขนมปัง
  • 18:34 - 18:37
    วังแห่งความจำ เทคนิคช่วยจำพวกนี้
  • 18:37 - 18:38
    มันเป็นแค่ทางลัด
  • 18:38 - 18:41
    ที่จริง มันไม่ใช่ทางลัดด้วยซ้ำ
  • 18:41 - 18:44
    มันได้ผล เพราะมันบังคับให้คุณใช้ความคิดมากขึ้น
  • 18:44 - 18:48
    มันบังคับให้คุณคิด ประมวลผลข้อมูลอย่างลึกซึ้ง
  • 18:48 - 18:50
    ให้คุณมีสติ สมาธิ
  • 18:50 - 18:54
    ซึ่งพวกเราส่วนใหญ่ไม่ได้ฝึกฝนกันอยู่เป็นประจำ
  • 18:54 - 18:57
    แต่ที่จริง มันไม่มีทางลัด
  • 18:57 - 18:59
    นี่เป็นเทคนิคที่ทำให้สิ่งต่างๆ มันจำง่าย
  • 18:59 - 19:04
    และผมคิดว่า ถ้าจะมีอะไรสักอย่าง
    ที่ผมอยากทิ้งท้ายไว้ให้คุณคิด
  • 19:04 - 19:06
    ก็คงเป็นสิ่งที่เรื่องราวของชายขื่อ อี พี
  • 19:06 - 19:10
    ชายความจำเสื่อมที่จำไม่ได้ว่าตัวเองความจำเสื่อม
  • 19:10 - 19:12
    ทิ้งท้ายไว้ให้ผมคิด
  • 19:12 - 19:14
    นั่นคือความคิดที่ว่า
  • 19:14 - 19:19
    ชีวิตของเราเป็นผลรวมของความทรงจำของเรา
  • 19:19 - 19:25
    เราจะยอมสูญเสียความทรงจำไปมากแค่ไหน
  • 19:25 - 19:28
    จากชีวิตของเราที่แสนสั้นอยู่แล้ว
  • 19:28 - 19:35
    ด้วยการหมกมุ่นอยู่กับแบล็คเบอรี่หรือไอโฟน
  • 19:35 - 19:39
    ด้วยการไม่เอาใจใส่คนที่นั่งอยู่ตรงหน้าเรา
  • 19:39 - 19:41
    คนที่กำลังคุยกับเรา
  • 19:41 - 19:43
    ด้วยความขี้เกียจจนไม่ยอมคิด
  • 19:43 - 19:46
    พิจารณาอะไรให้ลึกซึ้ง
  • 19:46 - 19:49
    ผมเรียนรู้มากับตัวเอง
  • 19:49 - 19:52
    ว่ามีความสามารถในการจำอันเหลือเชื่อ
  • 19:52 - 19:54
    ซ่อนอยู่ในตัวเราทุกคน
  • 19:54 - 19:58
    ถ้าคุณอยากใช้ชีวิตที่น่าจดจำ
  • 19:58 - 20:00
    คุณต้องเป็นคนที่
  • 20:00 - 20:03
    ใส่ใจเสมอที่จะจดจำ
  • 20:03 - 20:05
    ขอบคุณครับ
  • 20:05 - 20:08
    (เสียงปรบมือ)
Title:
เคล็ดลับความจำที่ใครๆ ก็ทำได้
Speaker:
โจชัว โฟเออร์ (Joshua Foer)
Description:

คนบางคนสามารถจำชุดตัวเลขเป็นพันๆ ชุด ลำดับของไพ่หนึ่ง (หรือสิบ!) สำรับ และอะไรอีกมากมาย นักเขียนสายวิทยาศาสตร์ โจชัว โฟเออร์ บรรยายให้เราฟังถึงเทคนิคที่เรียกว่า"วังแห่งความจำ" และแสดงให้เห็นคุณสมบัติสำคัญของเทคนิคนี้ นั่นคือ ใครๆ ก็เรียนรู้ที่จะใช้เทคนิคนี้ได้ รวมทั้งตัวเขาเองด้วย

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
20:28
Kanawat Senanan approved Thai subtitles for Feats of memory anyone can do
Kanawat Senanan commented on Thai subtitles for Feats of memory anyone can do
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Feats of memory anyone can do
Kanawat Senanan edited Thai subtitles for Feats of memory anyone can do
Paravee Asava-Anan edited Thai subtitles for Feats of memory anyone can do
Paravee Asava-Anan accepted Thai subtitles for Feats of memory anyone can do
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for Feats of memory anyone can do
Thipnapa Huansuriya edited Thai subtitles for Feats of memory anyone can do
Show all
  • แปลดีมากเลยครับ ผมแบ่งบรรทัดยาวๆ ออกเป็นสองบรรทัด (ตามกฎ 42 ตัวอักษร ที่ TED แนะนำ) เท่านั้นเอง
    ขออนุญาต Publish เลยนะครับ - ปั้น

Thai subtitles

Revisions