Return to Video

หัวข้อ: เมทริกซ์เบื้องต้น

  • 0:01 - 0:07
    มาเรียนเรื่องเมทริกซ์กัน อะไรคือ ผมหมายถึงอะไรตอนผมพูดว่า เมทริซิส (matrices)
  • 0:07 - 0:10
    เมทริซิส ก็คือพหุพจน์ของเมทริกซ์ (matrix)
  • 0:10 - 0:16
    ซึ่งเป็นคำที่คุณคงคุ้น ๆ เพราะฮอลลีวูดมากกว่าคณิตศาสตร์
  • 0:16 - 0:21
    แล้ว เมทริกซ์คืออะไร ที่จริง มันง่ายมาก
  • 0:21 - 0:24
    มันก็คือตารางตัวเลข นั่นคือสิ่งที่เรียกว่าเมทริกซ์
  • 0:24 - 0:28
    งั้น ผมจะวาดเมทริกซ์ให้คุณดู
  • 0:28 - 0:30
    ผมไม่ชอบสีฟ้ายาสีฟันเลย ขอผมเปลี่ยนสีหน่อยนะ
  • 0:30 - 0:38
    นี่คือตัวอย่างของเมทริกซ์ หากผมบอกว่า ไม่รู้สิ ผมจะเลือกเลขสุ่ม ๆ มา
  • 0:38 - 0:46
    ห้า หนึ่ง สอง สาม ศูนย์ ลบห้า นี่คือเมทริกซ์
  • 0:46 - 0:52
    และทั้งหมดนี้คือตารางของตัวเลข และบ่อยครั้งหากคุณหากหาตัวแปรแทนเมทริกซ์ คุณจะ
  • 0:52 - 0:55
    ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น คุณสามารถใช้ 'A' พิมพ์ใหญ่
  • 0:55 - 1:00
    บางครั้งในหนังสือบางเล่ม เขาจะทำตัวหนาด้วย ดังนั้นมันอาจเป็น ตัว 'A' หนา แทนเมทริกซ์
  • 1:00 - 1:04
    และ แค่วิธีการเขียน เราเรียกมันว่าเมทริกซ์ หรือ เราเรียก
  • 1:04 - 1:10
    เมทริกซ์นี้ว่า แค่วิธีการที่ตกลงกัน ว่า 2 คูณ 3 เมทริกซ์
  • 1:10 - 1:16
    และบางครั้ง เขาก็เขียนว่า '2 คูณ 3' ข้างล่างตัวอักษณหนา เพื่อแทนเมทริกซ์
  • 1:16 - 1:18
    แล้วสองคืออะไร แล้วสามล่ะ
  • 1:18 - 1:23
    สอง คือ จำนวนแถว (rows) เรามีแถวที่หนึ่ง แถวที่สอง นี่คือหนึ่งแถว นี่อีกแถว
  • 1:23 - 1:26
    และเราก็มีสามคอลัมน์ (columns) หนึ่ง สอง สาม
  • 1:26 - 1:28
    ดังนั้น เขาจึงเรียกมันว่า สอง คูณ สาม เมทริกซ์
  • 1:28 - 1:34
    เมื่อคุณบอกว่า รู้ไหม หากผมบอกว่า B ผมจะทำให้มันหนาหน่อย
  • 1:34 - 1:43
    หาก B เป็น ห้า คูณ สอง เมทริกซ์ นั่นหมายความว่า B นั้น ขอ
  • 1:43 - 1:47
    ผมพิมพ์ตัวเลขหน่อย ศูนย์ ลบห้า สิบ
  • 1:49 - 1:53
    ดังนั้น มันมีห้าแถว และสองคอลัมน์
  • 1:53 - 1:56
    เรามีอีกคอลัมน์หนึ่งตรงนี้ ดังนั้น เอาล่ะ ลบสิบ สาม
  • 1:56 - 2:04
    ผมแค่ใส่เลขสุ่ม ๆ ลงไปในนี้ เจ็ด สอง พาย
  • 2:04 - 2:07
    นี่คือ ห้า คูณ สอง เมทริกซ์
  • 2:07 - 2:12
    คุณคิดว่าคงคงเข้าใจวิธีการเขียนแล้วว่า เมทริกซ์ ซึ่งก็คือ
  • 2:12 - 2:15
    ตารางตัวเลข ว่าเป็้นอย่างไร คุณสามารถแสดงมัน ตอนที่คุณแสดงเป็นตัวแปร
  • 2:15 - 2:19
    คุณก็ใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ๋ตัวหนา และบางครั้งคุณก็เขียน สองคูณสาม ตรงนี้ด้วย
  • 2:19 - 2:23
    และคุณสามารถอ้างอิงเทอมในเมทริกซ์ได้ด้วย
  • 2:23 - 2:26
    ในตัวอย่างนี้ ตัวอย่างอันบน ที่เรามีเมทริกซ์ A
  • 2:26 - 2:33
    หากมีคนอยากอ้างอิงถึง สมมุติว่า อันนี้ พจน์นี้ของเมทริกซ์
  • 2:33 - 2:37
    และมันคืออะไร มันอยู่ในแถวสอง มันอยู่ในแถวที่สอง
  • 2:37 - 2:39
    และคอลัมน์ที่สอง จริงไหม
  • 2:39 - 2:42
    นี่คือคอลัมน์ที่หนึ่ง นี่คือคอลัมน์ที่สอง แถวที่หนึ่ง แถวที่สอง
  • 2:42 - 2:45
    ดังนั้นมันอยู่ในแถวที่สอง คอลัมน์ที่สอง
  • 2:45 - 2:52
    ดังนั้น ผู้คนมักจะเขียนว่า A จากนั้นก็เขียน
  • 2:52 - 2:58
    สอง ลูกน้ำ สอง เท่ากับศูนย์
  • 2:58 - 3:02
    หรือ เขาอาจเขียน บางครั้งเขียนเป็นตัวพิมพ์เล็ก a
  • 3:02 - 3:07
    สอง ลูกน้ำ สอง เท่ากับ ศูนย์
  • 3:07 - 3:12
    แล้ว A คืออะไร มันก็เหมือนเดิม
  • 3:12 - 3:14
    ผมแค่ทำให้คุณรู้จักวิธีการเขียน
  • 3:14 - 3:16
    เพราะทั้งหมดนี้เป็นแค่วิธีการเขียนเท่านั้น
  • 3:16 - 3:22
    แล้ว a หนึ่ง ลูกน้ำ สาม คืออะไร
  • 3:22 - 3:25
    มันหมายความว่า เราอยู่ที่แถวที่หนึ่ง กับคอลัมน์ที่สาม
  • 3:25 - 3:28
    แถวแรก หนึ่ง สอง สาม มันคื่อค่าที่อยู่ตรงนี้
  • 3:28 - 3:29
    ซึ่งเท่ากับ สอง
  • 3:29 - 3:32
    และนั่นคือสัญลักษณ์ทั้งหมดของเมทริกซ์
  • 3:32 - 3:34
    มันคือตารางของตัวเลข และสามารถแสดงออกมาได้อย่างนี้
  • 3:34 - 3:37
    และเราก็บอกถึงพจน์ต่าง ๆ ได้อย่่างนี้
  • 3:37 - 3:38
    จากนั้น คุณอาจถามว่า
  • 3:38 - 3:42
    "แซล เอาล่ะ มันก็คือ ตารางตัวเลข ที่
  • 3:42 - 3:44
    มีชื่อและสัญลักษณ์เลิศหรู แต่มันเอาไปใช้ทำอะไรได้"
  • 3:44 - 3:46
    นั่นคือประเด็นที่น่าสนใจ
  • 3:46 - 3:52
    เมทริกซ์เป็นแค่วิธีแสดงข้อมูล มันก็แค่วิธีเขียนข้อมูลลงไป
  • 3:52 - 3:54
    มีแค่นั่นแหละ มันก็ตารางตัวเลขอันหนึ่ง
  • 3:54 - 3:58
    แต่ มันสามารถใช้แสดงปรากฏการณ์ต่าง ๆ มากมาย
  • 3:58 - 4:02
    หากคุณเคยเรียนของพวกนี้ในพีชคณิต 1 หรือพีชคณิต 2
  • 4:02 - 4:04
    คุณอาจเคยใช้มันแสดงสมการเชิงเส้น
  • 4:04 - 4:08
    แต่เราจะเรียนมันทีหลัง และผมจะทำวิดีโออีก
  • 4:08 - 4:11
    เพื่อเอาเมทริกซ์ไปใช้ในหลายเรื่องเลยล่ะ
  • 4:11 - 4:14
    แต่ มันสามารถแสดง และมีประโยชน์มาก หากคุณ
  • 4:14 - 4:19
    กำลังทำงาน computer graphics เมทริกซ์... พจน์ในนั้นใช้แทนพิกเซลบนหน้าจอ
  • 4:19 - 4:21
    มันสามารถแทนจุดในระบบพิกัด
  • 4:21 - 4:23
    มันสามารถแทน... ใครจะรู้!
  • 4:23 - 4:25
    มันสามารถแทนอะไรได้เต็มไปหมด
  • 4:25 - 4:28
    แต่สิ่งสำคัญที่ควรระลึกไว้คือว่า เมทริกซ์นั้น
  • 4:28 - 4:30
    มันไม่ใช่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
  • 4:30 - 4:35
    มันไม่เหมือนกับหลักทางคณิตศาสตร์มากมายที่เราเคยเจอมา
  • 4:35 - 4:38
    มันเป็นแค่วิธีหนึ่งในการแสดงหลักทางคณิตศาสตร์
  • 4:38 - 4:40
    หรือ วิธีหนึ่งในการแสดงข้อมูล แต่คุณประมาณว่าต้อง
  • 4:40 - 4:43
    นิยามว่ามันกำลังแสดงอะไร
  • 4:43 - 4:45
    แต่ เก็บเรื่องที่ว่า
  • 4:45 - 4:48
    มันแสดงข้อมูลอะไรไว้ก่อน
  • 4:48 - 4:52
    และ โอ้ ภรรรยาผมอยู่นี่ เธอมาหาของน่ะ
  • 4:52 - 4:54
    เอาล่ะ กลับมาดูที่ผมกำลังทำอยู่
  • 4:54 - 4:57
    งั้น งั้น กลับมาดูว่าเมทริกซ์
  • 4:57 - 4:59
    นั้นแสดงอะไรกันได้ มาลองดูวิธีตามธรรมเนียมดู
  • 4:59 - 5:02
    เพราะ ผมว่า อืม อย่างน้อยในตอนแรก มันดูจะเป็น
  • 5:02 - 5:04
    ส่วนที่ยากที่สุด เราบวกเมทริกซ์อย่างไร
  • 5:04 - 5:06
    เราจะคูณเมทริกซ์อย่างไร เราจะหาอินเวอร์สของเมทริกซ์อย่างไร
  • 5:06 - 5:09
    เราจะหา determinant ของเมทริกซ์อย่างไร
  • 5:09 - 5:11
    ผมรู้ว่าคำเหล่านี้อาจฟังไม่คุ้นหู อย่างน้อย
  • 5:11 - 5:14
    คุณอาจงงกับมันมาแล้วในวิชาพีชคณิต
  • 5:14 - 5:16
    ดังนั้นผมจะสอนสิ่งเหล่านั้นให้คุณก่อน
  • 5:16 - 5:18
    ซึ่งมันเป็นแค่วิธีการที่มนุษย์กำหนดขึ้นมาเท่านั้น
  • 5:18 - 5:23
    จากนั้น ต่อไป ผมจะทำวิดีโออธิบายถึงแนวคิดเบื้องหลัง
  • 5:23 - 5:27
    และสิ่งที่เรากำลังแสดงอยู่ ดังนั้น มาเริ่มกันเลย
  • 5:27 - 5:30
    งั้นสมมุติว่าผมอยากบวกเมทริกซ์สองอันนี้เข้าด้วยกัน
  • 5:30 - 5:34
    สมมุติว่า อันแรก ขอผมเปลี่ยนสีหน่อย สมมุติว่า
  • 5:34 - 5:38
    เราทำอันเล็กหน่อย เพื่อไม่ให้เปลืองที่
  • 5:38 - 5:42
    คุณมี เมทริกซ์ สาม ลบหนึ่ง ไม่รู้สิ
  • 5:42 - 5:49
    สอง ศูนย์ เรียกมันว่า A แล้วกัน A ตัวพิมพ์ใหญ่
  • 5:49 - 5:54
    และเรียกอีกอันว่า B และผมจะมั่วตัวเลขขึ้นมา
  • 5:54 - 6:06
    เมทริกซ์ B เท่ากับ ลบเจ็ด สอง สาม ห้า
  • 6:06 - 6:14
    ดังนั้น คำถามของผมคือว่า A
  • 6:14 - 6:16
    ผมจะทำมันเป็นตัวหนาเหมือนในหนังสือ บวก
  • 6:16 - 6:22
    B เป็นเท่าไหร่ นั่นคือ ผมกำลังบวกเมทริกซ์เข้าด้วยกัน และอีกครั้ง
  • 6:22 - 6:26
    นี่เป็นแค่ข้อตกลงของมนุษย์ ใครสักคนนิยามวิธีการบวกเมทริกซ์อย่างนี้
  • 6:26 - 6:28
    เขาอาจนิยามแบบอื่น แต่เขาบอกว่า
  • 6:28 - 6:30
    เราจะให้เมทริกซ์บวกกัน ในแบบที่ผม
  • 6:30 - 6:32
    กำลังจะทำให้คุณดู เพราะมันมีประโยชน์สำหรับปรากฏการณ์ต่าง ๆ มากมาย
  • 6:32 - 6:35
    เมื่อคุณบวกเมทริกซ์สองตัวเข้าด้วยกัน คุณก็แค่บวก
  • 6:35 - 6:40
    พจน์ตัวต่อตัว แล้วมันหมายความว่าไง
  • 6:40 - 6:43
    คุณก็แค่บวกพจน์ที่อยู่ในแถวหนึ่ง คอลัมน์หนึ่ง เข้ากับ
  • 6:43 - 6:46
    พจน์ในอยู่ในแถวหนึ่ง คอลัมน์หนึ่ง โอเค
  • 6:46 - 6:50
    มันเท่ากับสาม บวก ลบเจ็ด นั่นคือ สาม บวก ลบเจ็ด
  • 6:50 - 6:55
    นั่นคือพจน์ หนึ่ง-หนึ่ง จากนั้นพจน์ในแถวหนึ่ง คอลัมน์สอง
  • 6:55 - 6:59
    จะเป็ฯ ลบหนึ่ง บวก สอง
  • 6:59 - 7:02
    ใส่วงเล็บลงไปให้คุณรู้ว่า
  • 7:02 - 7:05
    มันเป็นคนละพจน์กัน และคุณคงเดาได้ว่าจะทำอย่างไรต่อไป
  • 7:05 - 7:21
    พจน์นี้จะเท่ากับ สองบวกสาม พจน์นี้ เป็นพจน์สุดท้าย เท่ากับ ศูนย์ บวก ห้า
  • 7:21 - 7:27
    แล้วมันเท่ากับอะไร สาม บวก ลบเจ็ด เท่ากับ ลบสี่
  • 7:27 - 7:32
    ลบหนึ่ง บวก สอง เท่ากับ หนึ่ง สอง บวก สาม เท่ากับ ห้า
  • 7:32 - 7:40
    และศูนย์ บวก ห้า เท่ากับ ห้า ดังนั้นเราก็ได้ผลบวกมา นั่นเป็นวิธีที่มนุษย์นิยามการบวกเมทริกซ์สองตัว
  • 7:40 - 7:43
    และด้วยนิยามนี้ คุณคงนึกออกว่ามันก็เหมือนกับ
  • 7:43 - 7:49
    B บวก A ถูกไหม และจำไว้ว่า นี่คือสิ่งที่เราต้องคิดถึง
  • 7:49 - 7:53
    เพราะเราไม่ได้บวกเลขอีกต่อไป คุณรู้ว่า หนึ่งบวกสอง เท่ากับ
  • 7:53 - 7:57
    สองบวกหนึ่ง หรือ สำหรับเลขธรรมดาสองตัวใด ๆ มันไม่สำคัญว่า
  • 7:57 - 8:00
    คุณจะบวกมันก่อนหลัง แต่สำหรับเมทริกซ์ มันไม่ได้เห็นง่าย ๆ อย่างนั้น แต่เมื่อคุณนิยามมันเช่นนี้
  • 8:00 - 8:04
    ไม่มีสำหคัญว่าเราคิด A บวก B หรือ B บวก A จริงไหม
  • 8:04 - 8:07
    หากเราคิด B บวก A นี่ก็แค่ ลบเจ็ด บวก สาม
  • 8:07 - 8:10
    นี่ก็แค่ สอง บวก ลบหนึ่ง แต่สุดท้ายมันก็ออกมาเป็นค่าเดียวกัน
  • 8:10 - 8:12
    นั่นคือการบวกเมทริกซ์
  • 8:12 - 8:15
    และคุณคงนึกออกว่า การลบเมทริกซ์ ก็คล้าย ๆ กัน
  • 8:15 - 8:22
    เราก็ ที่จริง ให้ผมทำให้คุณดูดีกว่า A ลบ B ได้เท่าไหร่
  • 8:27 - 8:32
    คุณสามารถมองว่า นี่คือ B ใหญ๋ มันคือเมทริกซ์
  • 8:32 - 8:35
    นั่นคือนั่นเหตุผลที่ผมทำให้มันหนาพิเศษ แต่ มันก็เหมือนกับ
  • 8:35 - 8:43
    A บวก ลบหนึ่ง คูณ B แล้ว B คืออะไร B คือ
  • 8:43 - 8:48
    ลบเจ็ด สอง สาม ห้า และเมื่อคุณคูณมันด้วย
  • 8:48 - 8:50
    สเกลาร์ เมื่อเอาตัวเลขคูณกับเมทริกซ์
  • 8:50 - 8:53
    คุณก็แค่คูณเลขนั้นกับทุกเทอมในเมทริกซ์
  • 8:53 - 8:58
    ดังนั้น มันจะเท่ากับ A เมทริกซ์ A บวกเมทริกซ์ เราแค่คูณ
  • 8:58 - 9:02
    ลบหนึ่ง เข้ากับทุกเทอมตรงนี้ ได้ เจ็ด
  • 9:02 - 9:08
    ลบสอง ลบสาม ห้า จากนั้นเราก็
  • 9:08 - 9:12
    ทำอย่างที่เราทำตรงโน้น เรารู้ว่า A คืออะไร ดังนั้น มันก็
  • 9:12 - 9:16
    จะได้ ลองดู A อยู่ตรงนี้ ดังนั้น สาม บวก
  • 9:16 - 9:21
    เจ็ด เท่ากับ สิบ ลบหนึ่ง บวก ลบสอง เท่ากับ ลบสาม
  • 9:21 - 9:29
    สอง บวก ลบสาม ได้ ลบหนึ่ง และศูนย์ บวก ห้า เท่ากับ ห้า
  • 9:29 - 9:32
    และที่จริงคุณไม่ได้ทำผ่านทางนี้ก็ได้
  • 9:32 - 9:34
    คุณสามารถ ลบเทอมเหล่านี้จากเทอมเหล่านี้
  • 9:34 - 9:35
    และ คุณก็ได้ค่าเหมือนกัน
  • 9:35 - 9:38
    ผมทำเช่นนี้เพราะผมอยากให้คุณเห็นว่า การคูณ
  • 9:38 - 9:41
    สเกลาร์ หรือ ค่าหนึ่งค่า หรือตัวเลขปกติ เข้ากับเมทริกซ์
  • 9:41 - 9:47
    นั้นก็แค่คูณเลขดังกล่าวกับทุกเทอมในเมทริกซ์
  • 9:47 - 9:51
    แล้วยังไง จากนิยามการบวกเช่นนี้ เรารู้อะไรได้อีก
  • 9:51 - 9:54
    เรารู้ว่า เมทริกซ์ทั้งสองต้องมีขนาดเท่ากัน
  • 9:54 - 9:59
    ตามนิยามที่เราใช้บวก ยกตัวอย่างเช่น
  • 9:59 - 10:01
    คุณสามารถบวกเมทริกซ์สองตัวนี้ ผมสามารบวก ไม่รู้สิ
  • 10:01 - 10:08
    หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า กับเมทริกซ์นี้
  • 10:08 - 10:14
    ไม่รู้สิ ลบสิบ ลบร้อย ลบหนึ่งหัน
  • 10:14 - 10:20
    ผมแค่มั่วเลขมาก หนึ่ง ศูนย์ ศูนย์ หนึ่ง ศูนย์ หนึ่ง
  • 10:20 - 10:22
    คุณสามารถบวกเมทริกซ์สองตัวนี้ด้วยกันได้ ถูกไหม
  • 10:22 - 10:25
    เพราะมันมีจำนวนแถว และจำนวนคอลัมน์เท่ากัน
  • 10:25 - 10:30
    ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องบวกมัน เทอมแรก ก็จะเป็น หนึ่ง บวก ลบสิบ
  • 10:30 - 10:34
    ได้เท่ากับ ลบเก้า สอง บวก ลบหนึ่งร้อย ได้ลบเก้าสิบแปด
  • 10:34 - 10:40
    ผมคิดว่าคุณคงเข้าใจ คุณมีเก้าเทอม แล้วคุณมีสามแถว สามคอลัมน์
  • 10:40 - 10:45
    แต่คุณไม่สามารถบวกเมทริกซ์สองอันนี้เข้าด้วยกัน คุณสามารถบวก...
  • 10:45 - 10:49
    ขอผมใช้อีกสีหนึ่ง แค่ให้เห็นว่าต่างกัน
  • 10:49 - 10:52
    คุณไม่สามรถบวก สีฟ้านี้ คุณไม่สามารถบวกเมทริกซ์นี้
  • 10:52 - 11:03
    ลบสาม สอง เข้ากับเมทริกซ์ ไม่รุ้สิ เก้า เจ็ด
  • 11:03 - 11:05
    ทำไมถึงไม่ได้
  • 11:05 - 11:08
    เพราะมันไม่มีพจน์คู่กันให้บวกเข้าไป
  • 11:08 - 11:12
    มันมีหนึ่งแถว สองคอลัมน์ อันนี้คือ หนึ่งคูณสอง
  • 11:12 - 11:16
    แต่อันนี้เป็นสอง คูณหนึ่ง ดังนั้นพวกมันจึงมีมิติไม่เท่ากัน
  • 11:16 - 11:19
    เราจึงไม่สามารถบวกหรือลบเมทริกซ์เหล่านี้ได้
  • 11:19 - 11:22
    และเพื่อหมายเหตุเอาไว้ เมื่อเมทริกซ์มี... เมื่อ
  • 11:22 - 11:27
    มิติอันหนึ่งเท่ากับ หนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ตรงนี้คุณมีหนึ่งแถว
  • 11:27 - 11:30
    หลายคอลัมน์ นี่คือสิ่งทีเรียกว่า เวกเตอร์แถว (row vector)
  • 11:30 - 11:32
    เวกเตอร์คือ เมทริกซ์ที่มีมิติเดียว นั่นคือ
  • 11:32 - 11:36
    มิติอันหนึ่งเท่ากับหนึ่ง และนี่คือ เวกเตอร์แถว
  • 11:36 - 11:39
    และมันก็มี เวกเตอร์คอลัมน์ (column vector) และนี่เป็นแค่ชื่อ
  • 11:39 - 11:41
    ที่คุณควรรู้เพิ่มเติม อืม หากคุณเรียนพีชคณิตเชิงเส้น และแคลคูลัส
  • 11:41 - 11:44
    อาจารย์คุณอาจใช้คำเหล่านี้ และมันดีที่จะ
  • 11:44 - 11:49
    ทำความคุ้นเคยไว้ เอาล่ะ ผมใช้เวลาไปสิบเอ็ดนาทีแล้ว ผมจะมาต่อในวิดีฮหน้า แล้วเจอกันครับ
Title:
หัวข้อ: เมทริกซ์เบื้องต้น
Description:

What a matrix is. How to add and subtract them.

more » « less
Video Language:
English
Duration:
11:51
conantee edited Thai subtitles for Introduction to matrices
conantee edited Thai subtitles for Introduction to matrices
conantee added a translation

Thai subtitles

Revisions