Return to Video

แดน เดนเน็ตต์ : น่ารัก - เซ็กซี่ - หวาน - ตลก

  • 0:00 - 0:03
    ผมกำลังจะออกเดินทางทั่วโลกเพื่อไปบรรยายเรื่องเกี่ยวกับ (ชาร์ลส์) ดาร์วิน
  • 0:03 - 0:05
    และปกติสิ่งที่ผมจะบรรยาย
  • 0:05 - 0:08
    ก็คือ การที่ดาร์วิน "ให้เหตุให้ผลกลับทิศกลับทางอย่างประหลาด"
  • 0:08 - 0:13
    ฉายานั้น วลีนั้น มาจากนักวิจารณ์ครับ นักวิจารณ์ในยุคต้นๆ
  • 0:13 - 0:17
    และนี่เป็นข้อความที่ผมชอบมากและอยากจะอ่านให้คุณฟัง
  • 0:17 - 0:22
    "ในทฤษฎีที่เราจะต้องทำความเข้าใจนี้ "อวิชชาสูงสุด (Absolute Ignorance)" ถือเป็นผู้สร้าง
  • 0:22 - 0:27
    เพื่อที่เราจะกล่าวอย่างชัดเจนได้ถึงหลักการที่เป็นฐานรากของทั้งระบบ
  • 0:27 - 0:30
    ว่า ในการที่จะสร้างเครื่องจักรกลให้สวยงามสมบูรณ์แบบ
  • 0:30 - 0:33
    ไม่มีความจำเป็นจะต้องรู้วิธีการสร้างมันขึ้นมา
  • 0:33 - 0:37
    ข้อสรุปนี้สามารถพบได้ด้วยการตรวจสอบอย่างระมัดระวัง เพื่อนำเสนอ
  • 0:37 - 0:41
    ในรูปแบบกระชับของใจความหลักที่เป็นแก่นของทฤษฎี
  • 0:41 - 0:45
    และในการนำเสนอด้วยคำเพียงสองสามคำในสิ่งที่คุณดาร์วินหมายความทั้งหมด
  • 0:45 - 0:49
    ด้วยการให้เหตุให้ผลกลับทิศกลับทางอย่างประหลาดเช่นนี้ ดาร์วิน
  • 0:49 - 0:52
    ดูเหมือนจะคิดว่า อวิชชาสูงสุด มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะก้าวขึ้นไปอยู่
  • 0:52 - 0:58
    ในตำแหน่งของ "ปัญญาสูงสุด (Absolute Wisdom)" ในการบรรลุผลของทักษะที่สร้างสรรค์"
  • 0:58 - 1:05
    ใช่เลยครับ ใช่เลย และนี่คือการกลับทิศกลับทางอย่างประหลาด
  • 1:05 - 1:09
    จุลสารของพวกที่เชื่อในทฤษฎีผู้สร้างมีอยู่หน้านึงที่เด็ดดวงมาก:
  • 1:09 - 1:11
    "ข้อทดสอบอันดับ 2:
  • 1:11 - 1:15
    คุณรู้จักอาคารไหนบ้างไหมที่ไม่มีผู้สร้างมันขึ้นมา? เคย ไม่เคย
  • 1:15 - 1:18
    คุณรู้จักภาพเขียนภาพไหนบ้างไหมที่ไม่มีผู้เขียนมันขึ้นมา? เคย ไม่เคย
  • 1:18 - 1:22
    คุณรู้จักรถคันไหนไหมที่ไม่มีผู้ผลิตมันขึ้นมา? เคย ไม่เคย
  • 1:22 - 1:27
    ถ้าคำตอบของคุณคือ "เคย" กับคำถามข้อใดก็ได้บนนี้ โปรดระบุรายละเอียดมา"
  • 1:27 - 1:33
    เอาเข้าแล้ว ผมว่ามันเป็นการให้เหตุให้ผลกลับทิศกลับทางอย่างประหลาดจริงๆ นั่นแหละครับ
  • 1:33 - 1:37
    เราคิดกันมาก่อนหน้านั้นว่า ด้วยเหตุด้วยผลแล้ว
  • 1:37 - 1:41
    ผลงานออกแบบจะต้องมาจากผู้ออกแบบผู้ฉลาดปราดเปรื่อง
  • 1:41 - 1:43
    แต่ดาร์วินแสดงให้เห็นว่า ผิดถนัด
  • 1:43 - 1:48
    แต่วันนี้ผมจะมาพูดเรื่อง การให้เหตุให้ผลกลับทิศกลับทางอย่างประหลาดอีกอันหนึ่งของดาร์วิน
  • 1:48 - 1:54
    ที่สร้างความสับสนงงงันไม่แพ้กันในตอนแรก แต่ก็ดูจะมีความสำคัญไม่แพ้กันเช่นกัน
  • 1:54 - 2:01
    นับกันว่าเป็นเหตุเป็นผลที่ว่า เราชอบกินเค้กช็อกโกแลตก็เพราะว่ามันหวานดี
  • 2:01 - 2:07
    หนุ่มๆจะสนใจสาวๆ รูปร่างแบบนี้เพราะว่าพวกเธอดูเซ็กซี่ดี
  • 2:07 - 2:11
    เราชอบเรารักเด็กเล็กๆ ก็เพราะว่าพวกเขาดูน่ารักน่าชัง
  • 2:11 - 2:20
    และ แน่นอนที่สุด เรามีอารมณ์ขันกับเรื่องตลกก็เพราะว่ามันตลกขบขัน
  • 2:20 - 2:27
    ทั้งหมดนี่กลับทิศกลับทางกันไปหมด จริงๆ ครับ และดาร์วินเสนอให้เรารู้ว่าทำไม
  • 2:27 - 2:35
    เริ่มจากความหวานก่อน การที่เราชอบกินหวาน จริงๆ แล้วมาจากตัวตรวจจับน้ำตาลที่วิวัฒนาการขึ้นมา
  • 2:35 - 2:39
    เพราะว่าน้ำตาลให้พลังงานสูงมาก ก็เลยถูกดึงไปรวมอยู่ในกลุ่มของโปรด
  • 2:39 - 2:44
    พูดอย่างคร่าวๆ นะครับ และนั่นก็เป็นเหตุผลว่าทำไมเราชอบน้ำตาล
  • 2:44 - 2:51
    น้ำผึ้งหวานได้เพราะเราชอบกิน แต่ไม่ใช่ "เราชอบกินน้ำผึ้งเพราะมันหวาน"
  • 2:51 - 2:56
    น้ำผึ้งไม่ได้มีความหวานอะไรที่เป็นธรรมชาติโดยเนื้อแท้
  • 2:56 - 3:00
    ถ้าเราจ้องดูโมเลกุลกลูโคสจนเราตาบอดไปเลย
  • 3:00 - 3:03
    เราก็จะไม่มีทางรู้ว่าทำไมมันถึงรสหวาน
  • 3:03 - 3:09
    เราต้องไปดูที่สมองของเราในการทำความเข้าใจว่าทำไมมันรสหวาน
  • 3:09 - 3:11
    ถ้างั้น ถ้าเราคิดว่าความหวานมีมาแต่แรก
  • 3:11 - 3:13
    จากนั้นเราจึงมีวิวัฒนาการที่จะชอบความหวาน
  • 3:13 - 3:17
    นั่นเป็นการคิดกลับทิศกลับทางครับ นั่นผิดอย่างแรงครับ มันเป็นอีกแบบหนึ่งต่างหาก
  • 3:17 - 3:21
    ความหวานก่อเกิดขึ้นมาจากความต้องการที่ผ่านวิวัฒนาการ
  • 3:21 - 3:25
    และพวกสาวๆ นี่ก็ไม่ได้มีความเซ็กซี่อะไรที่เป็นธรรมชาติโดยเนื้อแท้
  • 3:25 - 3:30
    ซึ่งก็เป็นเรื่องดีที่ไม่ได้มีแบบนั้น เพราะถ้าเกิดว่าเป็น
  • 3:30 - 3:34
    ก็หมายถึงว่าธรรมชาติมีปัญหาแล้วหละ
  • 3:34 - 3:39
    จะทำอย่างไรล่ะครับที่จะให้ลิงชิมแปนซีผสมพันธุ์กัน?
  • 3:41 - 3:49
    คราวนี้เราอาจจะคิดว่า นั่นไง มีทางออกสิ: การเห็นภาพหลอนไง
  • 3:49 - 3:53
    นั่นเป็นวิธีหนึ่งครับ แต่มีวิธีที่เร็วกว่านั้น
  • 3:53 - 3:56
    ก็แค่ทำให้ลิงชิมแปนซีชอบลักษณะแบบนั้น
  • 3:56 - 3:59
    และอย่างที่เห็น มันก็ชอบแบบนั้น
  • 3:59 - 4:03
    เท่านั้นเองครับ
  • 4:04 - 4:08
    กว่าหกล้านปีที่พวกเรากับลิงชิมแปนซีมีวิวัฒนาการมาทางใครทางมัน
  • 4:08 - 4:11
    เรามีร่างกายปราศจากขนยาว ซึ่งแปลกเอาการ
  • 4:11 - 4:15
    เพราะเหตุใดเหตุหนึ่งนี่แหละ พวกมันกลับไม่เป็นอย่างเรา
  • 4:15 - 4:27
    ถ้าวิวัฒนาการเราไม่เป็นแบบนั้น ความเซ็กซี่สุดยอดของเราอาจจะหน้าตาออกมาแบบนี้
  • 4:27 - 4:32
    เราชอบของหวานๆ ก็เป็นวิวัฒนาการของความพึงใจตามสัญชาตญาณที่ต้องการอาหารพลังงานสูง
  • 4:32 - 4:35
    แต่ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ชอบเค้กช็อกโกแลต
  • 4:35 - 4:38
    เค้กช็อกโกแลตเป็น 'ตัวกระตุ้นเกินขีดธรรมชาติ'
  • 4:38 - 4:40
    ศัพท์คำนี้เป็นของ นิโค ทินเบอร์เจน (Niko Tinbergen)
  • 4:40 - 4:42
    ผู้ทำการทดลองที่เป็นที่รู้จัก กับนกนางนวล
  • 4:42 - 4:46
    ซึ่งเขาค้นพบว่าจุดสีส้มที่จงอยปากนกนางนวล --
  • 4:46 - 4:48
    ถ้าเขาทำจุดสีส้มเข้มขึ้นใหญ่ขึ้น
  • 4:48 - 4:50
    นกนางนวลสาวๆ จะจิกตรงจุดนั้นแรงขึ้น
  • 4:50 - 4:53
    มันเป็นตัวกระตุ้นระดับสูงมากสำหรับนกสาวๆ และนกสาวๆ ก็ชอบจุดนี้
  • 4:53 - 4:57
    สิ่งที่เราเห็นในกรณีอย่างเค้กช็อกโกแลต
  • 4:57 - 5:02
    คือตัวกระตุ้นเกินขีดธรรมชาติที่บิดกระตุกธรรมชาติของเรา
  • 5:02 - 5:05
    และมีตัวกระตุ้นเกินขีดธรรมชาติมากมาย เค้กช็อกโกแลตเป็นหนึ่งในนั้น
  • 5:05 - 5:08
    มีตัวกระตุ้นเกินขีดธรรมชาติสำหรับความเซ็กซี่อยู่มากมาย
  • 5:08 - 5:14
    แล้วก็ยังมีตัวกระตุ้นเกินขีดธรรมชาติสำหรับความน่ารักด้วย ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่เข้าท่า
  • 5:14 - 5:19
    เป็นเรื่องสำคัญมากที่เรารักเด็ก และเราก็ไม่รังเกียจอะไรอย่างเช่นผ้าอ้อมเลอะเทอะ
  • 5:19 - 5:25
    เด็กเล็กๆ จำเป็นจะต้องได้รับความรักและการเลี้ยงดูจากพวกเรา และเขาก็ได้รับตามนั้น
  • 5:25 - 5:29
    เอ้อ มีอีกอย่างครับ การศึกษาล่าสุดพบว่า คนเป็นแม่
  • 5:29 - 5:32
    ชอบใจกลิ่นผ้าอ้อมเลอะเทอะของลูกตัวเอง
  • 5:32 - 5:35
    ธรรมชาติทำงานในหลายๆ ระดับ
  • 5:35 - 5:40
    ถ้าเด็กเล็กๆ หน้าตาไม่เหมือนที่เป็นอยู่ ถ้าหน้าตาพวกเขาเป็นแบบนี้ล่ะ
  • 5:40 - 5:44
    เราก็จะรักใคร่ชอบใจอยู่ดี นั่นจะเป็นอะไรที่เราเห็นว่า
  • 5:44 - 5:50
    ที่เราคิดว่า อื้อหือ ตัวเล็กนี่น่ารักน่ากอดชะมัดเลย
  • 5:50 - 5:52
    นี่เป็นการกลับทิศกลับทางอย่างประหลาด
  • 5:52 - 5:59
    มาคราวนี้ เรื่องสุดท้ายก็เกี่ยวกับความตลกขบขัน คำตอบก็คือมันเป็นเรื่องคือๆ กัน เหมือนๆ กัน
  • 5:59 - 6:03
    แต่เรื่องนี้เป็นอันที่ยาก ไม่ชัดเจนออกมาให้เห็น นั่นเป็นเหตุให้ผมทิ้งไว้ในตอนท้ายสุด
  • 6:03 - 6:05
    และผมก็ไม่สามารถจะอธิบายเรื่องนี้ได้มากนัก
  • 6:05 - 6:11
    แต่เราต้องคิดในแง่วิวัฒนาการ เราจะต้องคิด งานยากที่จะต้องทำ
  • 6:11 - 6:14
    มันเป็นงานเลอะเทอะน่าเบื่อที่ใครสักคนจะต้องทำ
  • 6:14 - 6:22
    มีความสำคัญมากที่จะต้องตบรางวัลขนานใหญ่ที่ฝังอยู่แล้วในตัวเราเมื่อเราทำอะไรได้สำเร็จ
  • 6:22 - 6:26
    เอาล่ะ ผมคิดว่าเราค้นพบคำตอบแล้ว ผมกับเพื่อนร่วมทีมวิจัยอีกสองสามคน
  • 6:26 - 6:30
    มันเป็นเพราะระบบประสาทที่ต่อเชื่อมกับการให้รางวัลสมอง
  • 6:30 - 6:35
    สำหรับการทำงานที่น่าเบื่อจำเจ
  • 6:36 - 6:40
    ถ้าเป็นสติ๊กเกอร์ติดรถก็จะบอกทำนองว่า
  • 6:40 - 6:43
    มันเป็นความสนุกสนานของการแก้ไขจุดบกพร่อง
  • 6:43 - 6:45
    ผมคงไม่มีเวลาอธิบายได้หมด
  • 6:45 - 6:50
    แต่ผมอยากจะพูดแค่ว่ามีเพียงการแก้ไขจุดบกพร่องบางประเภทที่จะได้รับรางวัล
  • 6:50 - 6:58
    และสิ่งที่เราทำก็คือ เราใช้เรื่องตลกเป็นทำนองเครื่องตรวจสอบทางประสาทวิทยา
  • 6:58 - 7:02
    โดยเปิดปิดสวิตช์อารมณ์ขัน โดยบิดเร่งอัตราความขบขันของเรื่องตลก
  • 7:02 - 7:04
    อื๊อ ตอนนี้อันนี้ไม่เห็นจะตลก ... อ่ะ ตอนนี้ มันตลกขึ้นอีกนิดนึง
  • 7:04 - 7:06
    คราวนี้ เราเร่งอัตราขึ้นอีกเพียงนิดเดียว ... ตอนนี้ ไม่ตลกซะแล้ว
  • 7:06 - 7:09
    ด้วยวิธีนี้ เราสามารถเรียนรู้บางสิ่งบางอย่าง
  • 7:09 - 7:11
    ในเรื่องสถาปัตยกรรมของสมอง
  • 7:11 - 7:13
    สถาปัตยกรรมด้านการทำงานของสมอง
  • 7:13 - 7:18
    แมทธิว เฮอร์ลีย์ เป็นคนแรกที่เขียนเรื่องนี้ไว้ เราเรียกว่า แบบจำลองเฮอร์ลีย์ (Hurley Model)
  • 7:18 - 7:22
    เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เรจินัลด์ อดัมส์ (Reginal Adams) เป็นนักจิตวิทยา และนี่ก็ผม
  • 7:22 - 7:24
    และพวกเราได้บรรจุเนื้อหาพวกนี้ไว้ในหนังสือ
  • 7:24 - 7:27
    ขอบคุณมากๆครับ
Title:
แดน เดนเน็ตต์ : น่ารัก - เซ็กซี่ - หวาน - ตลก
Speaker:
Dan Dennett
Description:

ทำไมเด็กเล็กๆ ถึงได้ดูน่ารัก? ทำไมเค้กจึงหวาน? แดน เดนเน็ตต์ (Dan Dennett) นักปรัชญา มีคำตอบที่เราไม่คาดคิดมาก่อนเมื่อเขามาเล่าให้เราฟังถึงเหตุถึงผลที่ผิดแปลกไปจากสัญชาตญาณของเราในเรื่องของความน่ารัก ความหวาน และความเซ็กซี่ (พร้อมกับทฤษฎีใหม่ของแมทธิว เฮอร์ลีย์ (Matthew Hurley) ที่ว่า ทำไมเรื่องตลกจึงตลกได้)

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
07:32
Heartfelt Grace added a translation

Thai subtitles

Revisions